แรงจูงใจและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ เขตผดุง -
  • นพรัตน์ เสนาฮาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรชัย พิมหา
  • นครินทร์ ประสิทธิ์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ปัจจัยทางการบริหาร, คุณภาพชีวิตการทำงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและปัจจัยทาง
การบริหารที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 890 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 137 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมแรงจูงใจ ปัจจัยทางการบริหาร และคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.99 (S.D.=0.40), 3.81 (S.D.=0.57) และ 4.07 (S.D.=0.44) ตามลำดับ และภาพรวมแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ (r=0.772, p<0.001) และปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r=0.616, p<0.001) และพบว่าปัจจัย 4 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงาน ปัจจัยค้ำจุนด้านการปกครองบังคับบัญชา ปัจจัยค้ำจุนด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว และด้านเวลาในการปฏิบัติงาน มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร้อยละ 78.9 (R2=0.789, p<0.001)

References

กระทรวงสาธารณสุข. พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กรมควบคุมโรค.กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานและการรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

โกศล ศิริจันทร์, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานสุขศาลาของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2559; 9(2): 107-281.

ชลลดา อาทิตย์ตั้ง, สุวิทย์ อุดมพานิชย์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารทันตาภิบาล 2560; 28(1): 23-34.

เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562; 12(2): 42-51.

ทิพรฎาร์ คุยแก้วพะเนาว์, ชนะพล ศรีฤาชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561; 11(4): 47-57.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

พรพิมล จิตธรรมมา, ชนะพล ศรีฤาชา. การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ จังหวัด อุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2558; 22(1): 9-21.

เพ็ญนภา ชาดี, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านทันตกรรมป้องกันของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2562; 30(1): 92-102.

วีระวรรณ เหล่าวิทวัส, ประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2556; 13(2): 109-20.

วิลาสินี วงค์ผาบุตร, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้และมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 186-99.

ศิราณี เสนานุช, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชากาสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560; 10(1): 63-73.

ศุมาลิณ ดีจันทร์, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562; 19(2): 166-76.

ศศิธร เฝ้าทรัพย์, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2560; 28(1): 23-34.

สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก, ประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักบริหารงานสาธารณสุขในเทศบาลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2558; 15(4): 74-87.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานติดตามผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2563. กาฬสินธุ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ทะเบียนรายชื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2565.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.

Herzberg F, Mausner B, BB. The motivation to work. New York: Transaction Publishers; 2010.

Walton RE. Quality of working life: What is it. New York: John Wiley & Sons; 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04