การบริหารจัดการกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บริเวณพื้นที่ชายแดนประเทศไทย-เมียนมาร์ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ ลือชา Chiangrai Provincial Public Health Office
  • ณรงค์ฤทธิ์ เงินทอง

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการบริหารจัดกรณีการแพร่ระบาด  ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบริเวณพื้นที่ชายแดนประเทศไทย-เมียนมาร์ จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเลือกมาแบบเจาะจงประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในชุมชนชายแดนประเทศไทย-เมียนมาร์ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอแม่สาย จำนวน 28 คน และกลุ่มอาสาสมัครปฏิบัติงาน จำนวน 68 คน เก็บรวบรวมข้อมูล    จากเอกสารรายงาน คู่มือปฏิบัติงาน ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ มีการจัดการด้วยระบบเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคติดต่อข้ามแดนโดยมีการประสานงานร่วมมือทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมหน่วยหลักในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศอีกทั้งภายใต้การกำกับดูแลโดยหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอแม่สาย โดยนายอำเภอแม่สายเป็นประธาน ซึ่งปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดเชียงราย โดยมีการพัฒนาแบบคู่ขนาน ระบบการคัดกรองผู้เดินทางข้ามแดน และมีการยกระดับความร่วมมือบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เข้ามาร่วมดำเนินการในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ และปรับปรุงระบบขั้นตอนการคัดกรองและ    ส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคเข้าประเทศ อีกทั้งมีหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงมีบทบาทหลักในการรักษาความปลอดภัยในบริเวณช่องทางและประสานงานระหว่างประเทศเมียนมาร์ มีระบบการเฝ้าระวัง คัดกรอง โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง สรุปผลการบริหารจัดการกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บริเวณพื้นที่ชายแดนประเทศไทย-เมียนมาร์ จังหวัดเชียงราย มีการดำเนินการภายใต้คณะกรรมการประจำช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศภายใต้   การกำกับดูแลโดยหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอแม่สายซึ่งปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดเชียงราย โดยมีการดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก (Township Border Committee: TBC) เพื่อประสานงานแก้ไขปัญหาในการจัดการคนไทยที่ตกค้างในต่างประเทศเพื่อกลับเข้าสู่ประเทศไทยอย่างเป็นระบบโดยมีการคัดกรองและส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษา เฝ้าระวังและกักกันโรค

Author Biography

ณรงค์ฤทธิ์ เงินทอง

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สาย

References

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 [Internet]. ddc.moph.go.th. 2563 [cited 2023 Autumn 17]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php

สิทธิชัย ตันติภาสวศิน. โควิด-19 โรคระบาดป่วนโรค (Coronavirus disease (COVID-19) Pandemic). วารสารโรงพยาบาลชลบุรี [Internet]. 2563 [cited 2566 Jun 17];ปีที่ 45(ฉบับที่ 1). Available from: https://thaidj.org/index.php/CHJ/article/view/8840/8311

THE STANDARD TEAM. 12 มกราคม 2563 - พบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในประเทศไทย [Internet]. THE STANDARD. 2021 [cited 2023 Jun 19]. Available from: https://thestandard.co/onthisday120163/

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. การประเมินความเสี่ยงการตดเชื้อ Coronavirus Disease 2019 (COVID-2019) ในโรงพยาบาลชายขอบของไทย [Internet]. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [cited 2566 May 18] p. 5–6. Available from: https://www.dms.go.th/backend//Content

ธนูศิลป์ สลีอ่อน และ คณะ. สถานการณ์ระบบเฝ้าระวังและกลไกการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชนพื้นที่จุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดนไทย-เมียนมา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [Internet]. 2566 Apr 28 [cited 2566 Sep 1];ปีที่ 18(ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2566). Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/260673

มนู ศุกลสกุล และคณะ. การบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในการรับมือโรคโควิด 19 จังหวัดสุราษฎร์ธานี: การถอดบทเรียน. Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข [Internet]. 2022 Apr 29 [cited 2023 Sep 1];31(2):235–44. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12007/10165

16.Sukonsakul M. การบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในการรับมือโรคโควิด 19 จังหวัดสุราษฎร์ธานี: การถอดบทเรียน. Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข [Internet]. 2022 Apr 29 [cited 2023 Sep 1];31(2):235–44. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12007/10165

นภัทร ชัยธราโชติ. การบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ [Internet]. 2022 [cited 2023 Sep 17];7(4):278–91. Available from: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/262763

กฤษดา รัตนเจริญ. การบริหารจัดการการแพร่ ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) : กรณีศึกษาอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี [Internet]. 2564 [cited 2023 Sep 17]. Available from: http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2564_1649668364_6314830010.pdf

ธีระ วรธนารัตน, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, อารียา จิรธนานุวัฒน. การบริหารจัดการภาวะวิกฤตในช่วงสถานการณ์การระบาด ของโควิด-19 ระลอกแรก [Internet]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข . วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข; 2566 [cited 2566 May 29]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5744/hsri-journal-v16n3-p370-389.pdf?sequence=3&isAllowed=y

เกศรา แสนศิริทวีสุข, วนิดา ดิษวิเศษ, ละมัย ร่มเย็น. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในชุมชนเมือง เปรียบเทียบกับชุมชนชนบท เขตสุขภาพที่ 10 . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร [Internet]. 2564 [cited 2566 May 4];ปีที่ 1(ฉบับที่ 1 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564). Available from: ฃhttps://fmsjournal.snru.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/00-%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1-Reprint-Copy-1.pdf

Ela S, Wani I, Doloh A, Khaosung W, Maneenin P. การแก้ปัญหาการรับมือและการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี [Internet]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 2564 Jul [cited 2023 May 17]. Available from: https://www.hu.ac.th/conference/conference2021/Proceeding/doc/02%20HU/070-HU%20(P.466%20-%20478).pdf

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19): Variants of SARS-COV-2 [Internet]. World Health Organization. 2023 [cited 2023 Apr 23]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-%28covid-19%29-variants-of-sars-cov-2?gclid=Cj0KCQjwx5qoBhDyARIsAPbMagDZHtUqVhlH-3Sioluurn1-hhV9-z8UECuCCTXFhxbhi4kTd2Vo8_EaAuVGEALw_wcB

WHO Health Emergency Dashboard. Thailand: WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard [Internet]. World Health Oraganization. 2023 [cited 2566 Aug 18]. Available from: https://covid19.who.int/region/searo/country/th

Naidich JJ, Boltyenkov A, Wang JJ, Chusid J, Hughes D, Sanelli PC. Impact of the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Pandemic on Imaging Case Volumes. Journal of the American College of Radiology. 2020 Jul;17(7):865–72.

Centers for Disease Control and Prevention. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) [Internet]. Centers for Disease Control and Prevention. 2020 [cited 2023 Aug 17]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/your-health/treatments-for-severe-illness.html

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [Internet]. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564 [cited 2023 Sep 17]. Available from: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3227/3/62060668.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07