ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ ของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • อนัญญา หาบุญมี Public Health , Khon Kaen university
  • ชนัญญา จิระพรกุล
  • เนาวรัตน์ มณีนิล

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุ, จักรยานยนต์, นักเรียนศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2566 จำนวน 525 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างวันที่ 20-31 กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ใช้สถิติ Multiple logistic regression นำเสนอค่า Adjusted odds ratio พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา พบว่า ความชุกการเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 21.9 (95%CI: 18.6-25.7) (จำนวน 115 คน จากกลุ่มตัวอย่าง 525 คน) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ได้แก่ เพศ การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่ ประเภทรถจักรยานยนต์ และพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ กล่าวคือ เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในสมการสุดท้ายแล้ว พบว่า เพศชายมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์เป็น 3.96 เท่าของเพศหญิง (Adjusted OR : 3.96 ; 95%CI : 2.20-7.12) ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือบางครั้งและทุกครั้งขณะขับขี่ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์เป็น 3.75 เท่าของผู้ไม่เคยใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่ (Adjusted OR : 3.75 ; 95% CI : 1.89-7.42) ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ระบบเกียร์ 4 จังหวะ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์เป็น 2.98 เท่าของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ระบบ 2 จังหวะ (Adjusted OR : 2.98 ; 95% CI : 1.14-7.77) ผู้มีพฤติกรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ระดับต่ำ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางถนนเป็น 9.76 เท่าของผู้ที่มีพฤติกรรมระดับดี (Adjusted OR : 9.76 ; 95% CI: 3.09-30.84) และผู้มีพฤติกรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ระดับปานกลางมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางถนนเป็น 2.15 เท่าของผู้ที่มีพฤติกรรมระดับดี (Adjusted OR : 2.15 ; 95% CI: 1.34-3.45)

สรุปและข้อเสนอแนะ: การเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ยังพบความชุกสูง เพศ ผู้ใช้การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่ ประเภทรถรถจักรยานยนต์และพฤติกรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ ดังนั้น ควรมีการบังคับใช้กฎหมายห้ามโทรศัพท์ขณะขับขี่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น และเน้นการส่งเสริมพฤติกรรมการขับขี่ สร้างความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางถนนให้เยาวชนมีวินัยในการขับขี่และใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

References

กัญญารัตน์ นิ่มตระกูล. (2564). รถ ถนน การเดินทาง : ทำไมประเทศไทยจึงเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลก. โครงการวิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.sdgmove.com/2021/05/15/sdg-insights-road-safety-thailand/

องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย. (2562). การเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากการชนบนถนนในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/thailand/roadsafety/overview-th-final-25-7-19.pdf?sfvrsn=c6dc3da5_2

มูลนิธิเมาไม่ขับ. (2563). สถิติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ปี 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http//www.ddd.or.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย (2566). สถิติอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดหนองคาย. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.drive.google.com/drive/mobile/folders/1YY0ymB3-xqS51jysyi-CcsuiGn3BWtoB?usp=sharing

พนม เกตุมาน. (2550). พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น Risk-taking Behaviors in Adolessence. [อินเตอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 7 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.psyclin.co.th/new_page_78.htm

อาริยา สุขโต. (2565). ปัญหาผู้ใช้ยานพาหนะเสพกัญชา. รายการร้อยเรื่องเมืองไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/601484/rr2565-aug6.pdf?sequence=1

Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larsen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623–1634.

สรศักดิ์ ตันทอง. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการ สคร.9. 25(2), 67-77.

อาทิมา ฮาสูงเนิน และคณะ. (2560). การศึกษาปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(2), 21-33

Hafzi M., Mohd Jawi Z., Sarani R., & Wong SV. (2011). Injury Severity Analysis of Accidents Involving Young Motorcycle Riders in Malaysia. Proceedings of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, Vol.8, 2011.

วรวิทย์ จันทร์ชุม. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Oltaye, Z., Geja, E., & Tadele, A. (2021). Prevalence of Motorcycle Accidents and Its Associated Factors Among Road Traffic Accident Patients in Hawassa University Comprehensive Specialized Hospital, 2019. Open Access Emergency Medicine, Volume 13, 213–220. https://doi.org/10.2147/OAEM.S291510

วัชรพงษ์ เรือนคํา, ณรงค์ศักดิ์ หนสูอน. (2562). อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย: มมุมองทางวิทยาการระบาด. วารสารวารสาร มฉก. วิชาการ, 23(1), 146- 160.

McEvoy, S. P., Stevenson, M. R., McCartt, A. T., Woodward, M., Haworth, C., Palamara, P., & Cercarelli, R. (2005). Role of mobile phones in motor vehicle crashes resulting in hospital attendance: a case-crossover study. BMJ, 331(7514), 428. https://doi.org/10.1136/bmj.38537.397512.55

อดิศักดิ์ พงษ์พูลศักดิ์, ธวัชชัย เหล่าศิริหงษ์ทอง, และกวี เกื้อเกษมบุญ. (2547). การศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนน. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 27(3), 333-355

นันทพงศ์ ภักดีบุตร. ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ อันตรายที่เกิดจากความมักง่าย [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/docs/defaultsource/thailand/roadsafety/overview-th-final-25-719.pdf?sfvrsn=c6dc3da5_2

ภูมิพัฒน์ ล้นเหลือ และ เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2565). ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสาธารณสุขชุมชน, 8(3), 119-130.

พงษ์สิทธิ บุญรักษา, พิรัชฎา มุสิกะพงศ์, ทัดขวัญ มธุรช, รักษา ศิวาพรรักษ์. (2555). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถจักรยานยนต์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. เข้าถึงจาก: https://core.ac.uk/download/pdf/70944286.pdf

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย. เครื่องยนต์ 4 จังหวะและเครื่องยนต์ 2 จังหวะแตกต่างกันอย่างไร [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pttlubricants.pttor.com/th/knowledge_bit_detail/6/

อมรชัย ลีลาขจรจิตร และ ภานุพงศ์ ภานุดุลกิตติ. (2558). การจัดการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน. โครงการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

วชิระ สุริยะวงค์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรของวัยรุ่นแห่งหนึ่งเขตอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ.41(4).105-114.

กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. รายงานการวิจัย สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์, สมชาย เวียงพิทักษ์, และวนัสสนันท์ รุจวิพัฒน์. (2545). รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในระดับจังหวัด ประเทศไทย พ.ศ.2542. วารสารอุบัติเหตุ. 21, 144-155.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07