ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นฤมล โคตรชะขึง -
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, วัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านถือว่าเป็นบุคลากรด่านหน้าในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคโควิด 19 การฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นถือเป็นหนึ่งมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต แต่พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไม่ฉีดวัคซีนตามเป้าหมายที่กำหนด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 294 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น และกลุ่มควบคุม คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multiple logistic Regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา: เพศ และการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพศชายไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น เป็น 1.86 เท่าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพศหญิง (ORadj = 1.86, 95% CI 1.00 – 3.44; p-value = 0.048) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น มีการรับรู้ต่ำด้านความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 เป็น 1.98 เท่าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีการรับรู้สูงด้านความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 (ORadj = 1.98, 95% CI 1.14 – 3.42; p-value = 0.015)

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 และต้องคอยกำกับไม่ให้เกิดข้อมูลที่คลาดเคลื่อนที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับโรคหรือวัคซีนโควิด 19 เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [ออนไลน์] 2564 [อ้างเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 (2565, 20 กันยายน). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 223 ง. หน้า 2.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. เรื่องยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565. (2565, 20 กันยายน). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 223. หน้า 1.

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [ออนไลน์] 2565 [อ้างเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กรมควบคุมโรค. รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 [ออนไลน์] 2565 [อ้างเมื่อ 12 กันยายน 2565]. จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages/รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม.ยุคใหม่. [ออนไลน์] 2554 [อ้างเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. จาก: https://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2021-09-07-11-21-93471516.pdf

กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ประจำปี. [ออนไลน์] 2566 [อ้างเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566]. จาก: https://r7.moph.go.th/r7/wp-content/uploads

ชุติมา บุญทวี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (COVID-19) เข็มกระตุ้นของบุคลากรกลุ่มงานพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2565; 2(2): 49

นภชา สิงห์วีรธรรม, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, อรนุช ทองจันดี, วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี, อัจฉรา คำมะทิตย์, & กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2565). ความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข]. สถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุข.

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1); 47.

Schlesselman JJ. Sample size requirements in cohort and case-control studies of disease. American Journal of Epidemiology 1974; 381-4.

Zhao, H., Wang, H., Li, H., Zheng, W., Yuan, T., & Feng, A, et al. Uptake and adverse reactions of COVID-19 vaccination among people living with HIV in China: A case–control study. Human Vaccines & Immunotherapeutics 2021; 17(12): 4964–4970.

Bilsen, J.A.V.C., Stabourlos, C., Moonen, C.P.B., Brinkhues, S., Demarest, S., Hanssen, D.A.T. et al. Differences in non-positive intention to accept the COVID-19 booster vaccine between three countries in the cross-border region Meuse-Rhine Euroregion: The Netherlands, Belgium, and Germany. ELSEVIER 2023.

Klugar, M.M., Riad, A., Mohanan, L., & Pokorná, A. COVID-19 Vaccine Booster Hesitancy (VBH) of Healthcare Workers in Czechia: National Cross-Sectional Study. Vaccines 2021; 9(1437): 2–29.

Saddik, B., Bluwi, A.N., Shukla, A., Barqawi, H., Hawra, A., Hussain, A., et al. COVID-19 vaccine booster hesitancy (VBH) of healthcare professionals and students in poland: Cross-sectional survay-based study. Taylor & Francis Group 2021; 18: e1994300-0-e1994300-9.

Weitzer, J., Birmann, B. M., Steffelbauer, I., Bertau, M., Zenk, L., Caniglia, G. et al. Willingness to receive an annual COVID-19 booster vaccine in the German-speaking D-A-CH region in Europe: A cross-sectional study. The Lancet Regional Health – Europe 2022; 18.

จุฑวรรณ ใจแสน. พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารรามคำแหง 2565.

โสมสกาว เพชรานนท์, อุ่นกัง แซ่ลิ้ม, & ชยันต์ พิภพลาภอนันต์. ปัจจัยที่กำหนดความเต็มใจจ่ายสำหรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ 2566; 10: 109–125.

Ghazy, M.R., Abdou, S.M., Awaidy, S., Sallam, M., Elbarazi, I., Youssef, N. et al. Acceptance of COVID-19 Vaccine Booster Doses Using the Health Belief Model: A Cross-Sectional Study in Low-Middle- and High-Income Countries of the East Mediterranean Region. International Journal of Environmental Research and Public Health 2022; 19(12136): 1–1.

พวงรัตน์ สิงห์เทพ. ผลการศึกษาผลของการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชน อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี. สำนักงานสาธารสุขจังหวัดสกลนคร 2566.

Zubairu, I., Amina, A.U., Hadiza, M.A., Aminatu, A.K., Taiwo, G.A., & Fatimah I.T.A. “They have produced a vaccine, but we doubt if COVID-19 exists”: Correlates of COVID-19 vaccine acceptability among adults in Kano, Nigeria. Human Vaccines & Immunotherapeutics 2021; 17(11): 4057–4064.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07