ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วิลาวัณย์ ชาดา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ชัยกฤต ยกพลชนชัย
  • เพ็ญมาศ สุคนธจิตต์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะซึมเศร้า, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 420 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การทดสอบของฟิชเชอร์ (Fisher’s exact test)

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศหญิง ร้อยละ 60.50 ส่วนใหญ่อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 54.80 การศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา ร้อยละ 87.40 สถานภาพสมรส ร้อยละ 76.90 ส่วนใหญ่มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 85.70 แหล่งที่มาของรายได้ส่วนใหญ่ได้รับจากสวัสดิการจากรัฐ ร้อยละ 61.00 การพักอาศัยส่วนใหญ่อยู่กับบุตร/ หลาน ร้อยละ 46.90 การมีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 35.00 ส่วนผลการคัดกรองโรคซึมเศร้า พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 88.30 รองลงมามี ภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 10.70 ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ร้อยละ 54.30 รองลงมามีคุณภาพชีวิตปานกลาง ร้อยละ 41.20 และพบว่า ปัจจัยแหล่งที่มาของรายได้ และผลการคัดกรองโรคซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05)

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีผู้สูงอายุบางส่วนที่มีภาวะซึมเศร้า และเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ดังนั้นผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับการลดภาวะซึมเศร้าและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมากขึ้น

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 2565 [Internet]. กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมกิจการผู้สูงอายุ. 2566 [cited 2023 May 10]. Available from: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ ภาค และจังหวัด พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. จำนวนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน [Internet]. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. 2565 [cited 2023 Nov 16]. Available from: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=953a2fc648be8ce76a8115fbb955bb51

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. นครปฐม; 2565.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566: คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน.” นครปฐม; 2566.

Krejcie, R. V., and Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activi- ties. Educ Psychol Mea- surement [Internet]. 1970;30:607–10. Available from: https://home.kku.ac.th/sompong/guest_speaker/KrejcieandMorgan_article.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด (ฉบับปรับปรุง ครังที 3/2557) [Internet]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,; 2557. Available from: https://dmh.go.th/test/9q/

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2545.

สุชาดา แซ่ลิ่ม. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(1):193–202.

ทยุตม์ คงพ่วง, พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง, วัชรี เพ็ชรวงษ์, สุนันทรา ขำนวนทอง. ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2564;6(11):338–48.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, สุชาติ พันธุ์ลาภ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนชานเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2559;3(3):25–36.

อารีย์ สงวนชื่อ, ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, รัตนาภรณ์ อาษา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2562;14(2):277–87.

จิรัชยา เคล้าดี, สุภชัย นาคสุวรรณ์, จักรวาล สุขไมตรี. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์. 2560;15(1):27–32.

เนตรนภา กาบมณี, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ, ปานเพชร สกุลคู. การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตาบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2564;11(1):27–39.

จิรภา วิลาวรรณ, จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์, ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์, ยุวดี บุญเนาว์, พัทรินทร์ บุญเสริม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันภาวะซึมเศร้า เชิงสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ ตาบลนาฝาย อา เภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(1):181–95.

ปัทมา ผ่องศิริ, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล, สอาด มุ่งสิน, พิสมัย วงศ์สง่า. คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วย เหลือตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์. 2561;25(2):137–51.

ดวงเดือน ศาสตรภัทร, จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์, สุวัลลี แย้มศาสตร์, สุรีย์วรรณ ภูริปัญญาคุณ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2564;7(212–223).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04