ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุชนเผ่าม้ง และลัวะ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตวง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ความสัมพันธ์, การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ, ชนเผ่าบทคัดย่อ
สถานการณ์การสูญเสียฟันพบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งการสูญเสียฟันมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เพื่อการวางแผนงานป้องกันการสูญเสียฟันที่เหมาะสม การศึกษานี้เป็นการวิจัยวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการสูญเสียฟัน พฤติกรรม ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุชนเผ่าม้งและลัวะ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตวง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ชนเผ่าม้งและลัวะ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Random Sampling จำนวน 95 คน ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบตรวจสุขภาพช่องปากในการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6 มกราคม–30 มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติหาความสัมพันธ์โดยใช้สมการถดถอยปัวซอง
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.63 เป็นชนเผ่าม้ง ร้อยละ 82.11 มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน ร้อยละ 56.80 สถานภาพสมรส ร้อยละ 76.84 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 91.58 ความชุกของการสูญเสียฟัน ร้อยละ 81.05 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก อยู่ในระดับต่ำและสูง ร้อยละ 35.80 เท่ากัน ด้านพฤติกรรมเสี่ยง อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 43.20 ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ ทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟัน ในผู้สูงอายุชนเผ่าม้งและลัวะ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตวง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ได้แก่ ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพด้านที่ 1 ความรู้ความเข้าใจ (IRR=2.40, 95%CI[1.64-.52, p=0.001]) ด้านที่ 2 การเข้าถึงข้อมูลและบริการ (IRR=4.21, 95%CI[2.78-6.37], p=0.001) ด้านที่ 5 การรู้เท่าทันสื่อ (IRR=1.71, 95%CI[1.26-2.32], p=0.001) ด้วยเหตุนี้ ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับชนเผ่า โดยให้ความสำคัญตั้งแต่กลุ่มวัยทำงานเพื่อป้องกันและลดการสูญเสียฟันในวัยผู้สูงอายุต่อไป
References
สำนักงาน ก.พ., ภาครัฐกับการเตรียมความพร้อมเข้าสูสังคมสูงวัย, วารสารข้าราชการ ปีที่ 60 (4), 256
อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์, สถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศไทย:ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปีที่ 10 (2) พฤษภาคม-สิงหาคม, 2563.
ทพญ.พัชราภรณ์ กาวิละ, ความรู้ เรื่อง ความรู้พื้นฐาน โครงสร้างฟัน และโรคฟันผุ, สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2566. จาก https://icoh.anamai.moph.go.th/th/km-person,
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, บทที่ 2 ช่องปาก อวัยวะน่ารู้, สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2566. จาก https://ppdental.anamai.moph.go.th/elderly/PR/media/family/f.htm, คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและครอบครัวในงานทันตกรรมป้องกัน
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางการจัดบริการดูแลและป้องกัน สุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุสำหรับทันตบุคลากร, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2564.
กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565, สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2564.
กนกอร โพธิ์ศรี, เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุที่มีช่วงอายุ 60-74 ปี ในเขตและนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, วารสารทันตาภิบาล, ปีที่ 26(2) กรกฎาคม – ธันวาคม, 2558.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทยพ.ศ. 2560, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2561.
ณภัทรพงษ์ หงษ์ทอง และคณะ, ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์กับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ, วารสารทันต.ขอนแก่น, ปีที่ 21 (1) มกราคม - มิถุนายน, 2561.
เชาวลิต วโนทยาโรจน์, ความสัมพันธ์ระหว่างโรคความดันโลหิตสูงกับการสูญเสียฟันในโรงพยาบาลกระบี่, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, ปีที่ 30 (1) ม.ค. - มี.ค., 2559.
ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ และคณะ, ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพกับการสูญเสียฟันของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, ปีที่ 23 (1) มกราคม – เมษายน, 2563.
กวินธิดา สิงห์ทะ และคณะ, พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่, วารสารสาธารณสุขล้านนา, ปีที่ 16 (1), 2563.
Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9 thed.). New York: John Wiley & Sons.
คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, แปรงฟัน ถูกวิธี ฟันดีตลอดชีวิต, สืบค้นวันที่ 3 กันยายน 2566. จาก https://dt.mahidol.ac.th/category/แผ่นพับความรู้/ภาควิชาทันตกรรมชุมชน
Best, J. W., Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliff, NJ: Prentice Hall, Inc; 1977.
Bloom, B. S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIPE. Evaluation Comment, 1(2), 1 – 12.
นฤพล หวังธงชัยเจริญ, การศึกษาฟันผุและการสูญเสียฟันขณะมีชีวิตของกลุ่มประชากรในพิธี กรรมการฝังศพครั้งที่ 2 ที่โนนป่าช้าเก่าบ้านกระเบื้อง จ.นครราชสีมา,วารสารดำรงวิชาการ, ปีที่ 18 (1) ม.ค.- มิ.ย. หน้า 59-82, 2562.
Haeok Lee, Deogwoon Kim et al., Ethnicity, Social, and Clinical Risk Factors to Tooth Loss
among Older Adults in the U.S., NHANES 2011–2018, International Journal of Environmental Research and Public Health, 2022.