ความรอบรู้ด้านโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้สูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ลำใย นะราช -
  • ธิดารัตน์ สมดี
  • เขมิกา สมบัติโยธา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านโภชนาการ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ระบาดวิทยา ผู้สูงอายุ การพลัดตกหกล้ม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 249 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย 1)คุณลักษณะส่วนบุคคล 2)แบบวัดความรอบรู้ด้านโภชนาการ และ3)พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และวิเคราะความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson’s Product Moment Correlation

            ผลการวิจัยพบว่าความรอบรู้ด้านโภชนาการของผู้สูงอายุในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาข้อมูลรายด้านพบว่าการเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองด้านโภชนาการอยู่ในระดับต่ำ ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พบว่า ความรอบรู้ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value <0.001 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ กล่าวคือ ถ้าหากผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านโภชนาการในระดีบดี ก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาบัญญัติ 9 ประการอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ความรอบรู้ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักธงโภชนาการผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value <0.001 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ กล่าวคือ ถ้าหากผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านโภชนาการในระดีบดี ก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักธงโภชนาการผู้สูงอายุอยู่ในระดับที่สูงขึ้น

            ผลการวิจัยในครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับวางแผนพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ด้านโภชนาการ ของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. {ออนไลน์}. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 8 ตุลาคม 2565. จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1635826373-975_0.pdf

กรมสุขภาพจิต. ข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต. (2563),หน้า 145 อ้างถึง 93 วันสู่สังคม"คนชรา" 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด. เดลินิวส์.(1 ตุลาคม 2563), หน้า 3. {ออนไลน์}. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565. จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453.

นันท์นภัส ธนฐากร และธนัช กนกเทศ. โรคอ้วนในผู้สูงอายุ การประเมินและแนวทางป้องกัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2566) หน้า 126.

ชวิศา แก้วอนันต์. โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ Nutrition of the Elderly. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2561). หน้า 112-119.

รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2. สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2562.

นายวิรุท นนสุรัตน. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 8. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม) พ.ศ. 2562. หน้า 130-137.

ชัชฎาภรณ์ จิตตา และคณะ. ความรอบรู้ด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5. วารสารโภชนาการ ปีที่ 55 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563). หน้า 62-77.

อังธนา จุลสุคนธ์, นพวรรณ เปียชื่อ, วราภรณ์ ทิพย์สุวรรณกุล, จิราพร ไลนิงเกอร์. ความรอบรู้ด้านโภชนาการและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหลานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) พ.ศ. 2562.หน้า120 - 135.

รัตนาภรณ์ สาสีทา, คัติยา อีวาโนวิช และฉวีวรรณ บุญสุยา. ความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน ) พ.ศ. 2565. หน้า 28-42.

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2564). รายงานประจำปี 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. {ออนไลน์}. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 30 กรกฏาคม 2565 จากhttps://udo.moph.go.th/thepost/upload/fDAGpewyXpJ4pQYaLbUftR7p6i/oEYZuHniCHbgh3TxvEaVbti1Dm.pdf.

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2. (2564). รายงานภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ คลินิกผู้สูงอายุศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2.

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงานคลินิก DPAC ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2.

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2. (2565).ข้อมูลพื้นฐานศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2 ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.

ศิริรัตน์ ปานอุทัย,สุทธินันท์ คอดริงตัน,ฐิตินันท์ ดวงจินา และรังสิมา โตสงวน.ความรอบรู้ด้านอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วารสารพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 50 ฉบับที่ 1 เดือน (มกราคม – มีนาคมสิงหาคม 2566). หน้า 55-67.

Vidgen, H., & Gallegos, D. (2014).Defining food literacy and its components. Appetite,76(1),50-59,doi:10.1016/j.appet.2014.01.010

นัชชา เรื่องเกียรติกุล.ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับความรอบรู้ในผู้สูงอายุ.วารสารกรมการแพทย์ ปีที่ 47 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2565). หน้า 80-86.

ชัชฎาภรณ์ จิตตา และคณะ. ความรอบรู้ด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5. วารสารโภชนาการ ปีที่ 55 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563). หน้า 62-77.

สมสุข ภาณุรัตน์,สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล,พัชรี กระจ่างโพธิ์,ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์ และวิถี ธุระธรรม.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 52.วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต ปีที่3 ฉบับที่ 1. (มกราคม-มิถุนายน 2566). หน้า 13-24

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04