การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมองด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่น ในเขตสุขภาพที่ 11

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ เอี่ยมขำ -
  • วลัยลักษณ์ สิทธิบรรณ์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, กระบวนการมีส่วนร่วม, ครอบครัว-ชุมชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่น ในเขตสุขภาพที่ 11 กลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบประกอบด้วย ผู้แทนครอบครัว เพื่อนบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อปท. อบต. ผู้นำชุมชน จำนวน 35 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบรูปแบบ เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  รายใหม่ ในปีงบประมาณ 2565 เขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 370 คน เก็บข้อมูลด้วยการสอบถามความรู้และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบฯ และสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง ประมาณ 30-45 นาที วิเคราะห์ข้อมูล    เชิงปริมาณ ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ โดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ระดับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเหลือดสมอง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 1 เดือน โดยใช้สถิติการทดสอบ ทีแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Paired Sample t-test) ส่วนข้อมูลคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ในระดับสูง ร้อยละ 61.4 และมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง ในระดับปานกลาง ร้อยละ 81.1 2) ขั้นออกแบบและพัฒนารูปแบบ พบว่า ผู้ป่วย ควรมีบทบาทหลักในการดูแลตนเอง ครอบครัว ควรมีบทบาทสำคัญในการให้การดูแลผู้ป่วย เพื่อนบ้านนำความรู้แลกเปลี่ยนกัน อสม. เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข และ อปท. อบต. และผู้นำชุมชน ช่วยเหลือ ประสานงานกรณีมีเหตุฉุกเฉิน 3) ขั้นทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ก่อนการนำรูปแบบฯ ไปใช้ เท่ากับ 12.9 และหลังการนำรูปแบบฯ ไปใช้ เท่ากับ 14.6 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้ก่อนและหลังการนำรูปแบบฯ ไปใช้ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=61.6, p<0.001) มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมองก่อนการนำรูปแบบฯ ไปใช้ เท่ากับ 55.7 และหลังการนำรูปแบบฯ ไปใช้ เท่ากับ 66.8 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังการนำรูปแบบฯ ไปใช้ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=243.4, p<0.001) และมีความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ ในระดับปานกลาง และระดับสูง ร้อยละ 64.3 และ ร้อยละ 27.8 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ย 11.2 (SD 2.3) ดังนั้นชุมชนควรมีการติดตามประเมินผลความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากใช้รูปแบบฯ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือทุก 3 เดือน

References

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Cardiovascular diseases (CVDs). Retrieved from https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds). 2023.

โรชินี อุปรา และประกายแก้ว ธนสุวรรณ. ภาวะเสี่ยงและความรู้เกี่ยวกับอาการเตือนของภาวะฉุกเฉินทางโรคหลอดเลือดสมอง. Rajabhat J.Sci. Humanit. Soc. Sci. 2558;16(1): 87-94.

World Health Organization. Situation Report. Retrieved December 3, 2022, from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports/.2020.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี. 2565.

กัลย์สุดา สารแสน และคณะ. ความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในพนักงานธนาคาร กลุ่มเสี่ยงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2652;(33)1:92-106.

ดวงธิดา โสดาพรม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง เขตเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2563.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 11 กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565. ธัญลักษณ์การพิมพ์: สุราษฎร์ธานี. 2566.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.

Bloom, Benjamin S.,et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company. 1971.

Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc. 1977.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือแนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน: นนทบุรี. 2560.

สุวรรณี แสนสุข และคณะ. ศึกษาการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(4):195-204.

Nutbeam, D. The Evolving Concept of Health Literacy. Social Science & Medicine. 2008;67(12):2072-78.

ประเพ็ญพร ชำนาญพงษ์ และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชนกึ่งเมือง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559;4(3):325-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-07