ความรู้และพฤติกรรมการดูแลช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ไปรยา ทองแย้ม
  • ธีรญา ช่วยพิทักษ์
  • พชรพร วงษ์ปักษา
  • อธิวรรธน์ อยู่บาง
  • ศุจิมน มังคลรังษี

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรม, สุขภาพปากและฟัน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ จำนวน 475 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ Google form  ระหว่างวันที่ 5-30 เมษายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.9 กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 41.1 รองลงมาเป็นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 35.4 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 23.6 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เรียนอยู่แผนการเรียนวิทย์-คณิตร้อยละ 68.6  ได้รับข่าวสารการดูแลรักษาสุขภาพปากและฟันผ่านทาง สื่อสังคมออนไลน์ อินเทอร์เน็ตร้อยละ 46.7 รองลงมาเป็นผู้ปกครองร้อยละ 20 จากที่โรงเรียน หนังสือเรียนร้อยละ 14.7 จากแหล่งอื่น ๆ ร้อยละ 7.6 จากเพื่อนร้อยละ 7.4 และจากทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร ร้อยละ 3.6 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีรายได้ครอบครัวก่อนหักค่าใช้จ่ายต่อเดือน 40,001-80,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 24.6 มีการไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและรักษาปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 26.5 รองลงมาเป็นน้อยกว่าปีละ 1 ครั้งร้อยละ 25.9 มากกว่าปีละ 2 ครั้งร้อยละ 24.8 และปีละ 1 ครั้งร้อยละ 22.7 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลปากและฟันอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 60.21 และมีพฤติกรรม การดูแลสุขภาพปากและฟันอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 50.10 พฤติกรรมที่ปฏิบัติเสมอมากสุด คือการทำความสะอาดลิ้น พบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี และดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ส่วนพฤติกรรมที่ปฏิบัติเสมอน้อยสุด เป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับการ งดอาหาร ที่มีน้ำตาลและเป็นกรด การใช้น้ำยาบ้วนปาก และการใช้ไหมขัดฟัน จากการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลปากและฟัน พบว่าจำนวนครั้งที่พบทันตแพทย์เพื่อตรวจ และรักษา (Beta=0.313, p-value<0.01) และรายได้ ครอบครัวต่อเดือน (Beta=0.112, p-value<0.05) เป็นปัจจัยที่มีอำนาจทำนายพฤติกรรมการดูแลปากและฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Siamhealth.net [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: Siam health; [ม.ป.ป.]. สุขภาพในช่องปาก; [ม.ป.ป.] [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/oral/index.html#:~:text=สุขภาพในช่องปากหมาย,เหงือกและฟันที่ปกติ

สำนักงานทันตสาธารณสุข. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตู...สู่สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555. [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/Additional/UI/oralcare.pdf

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n2423_3e9aed89eb9e4e3978640d0a60b44be6_survey8th_2nd.pdf

Colgate [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ จํากัด; 2553. สุขภาพปากและฟันและสุขภาพโดยรวมของผู้หญิง; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.colgate.com/th-th/oral-health/adult-oral-care/womens-oral-health-and-overall-health

ธิติ ศิริไกร. Thantakit [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ; 2565. อยากยิ้มสวยต้องงด! รวมอาหารที่ทำให้ฟันผุและเกิดปัญหาอื่น ๆ ในช่องปาก; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thantakit.com/th/dental-blogs/food-that-causes-tooth-decay/

Plus dental clinic [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: บริษัท พลัส เดนทัล คลินิก จำกัด; 2565. สุขภาพช่องปากและฟัน เรื่องสำคัญคนวัยทำงาน; [ม.ป.ป.] [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.plusdentalclinic.com/dental-content/สุขภาพฟันของวัยทำงาน/

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ร้านพจน์กล่องกระดาษ; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://webportal.bangkok.go.th/user_files/116/2052212579651f64bf7549d6.15479121.pdf

มารยาท โยทองยศ, ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช; [ม.ป.ป.] [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก:http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/1580/3/เอกสารหมายเลข2.pdf

พวงทอง ผู้กฤตยาคามี, วิกุล วิสาลเสสถ์. พฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของตนไทย พ.ศ. 2554. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ค. 2566]; 36(3). เข้าถึงได้จาก: https://sealantdental.anamai.moph.go.th/elderly/academic/full103.pdf

วันวิสาข์ ไพเราะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=2361&context=chulaetd

จุฑามาศ ฝึกฝน. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน ของผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร [ปริญญานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mis.krirk.ac.th/librarytext/MBA/2562/F_Juthamard_Fukfon.pdf

ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์. TCIJ Thai [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง; 2562. เด็กไทยเรียนหนัก-เครียดพ่อแม่กดดัน-แบกความหวังของคนรอบข้าง; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tcijthai.com/news/2019/7/scoop/9226

ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี สถาบันราชนุกูล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันราชนุกูล; 2557. เด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลก; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://th.rajanukul.go.th/ข่าวประชาสัมพันธ์/เด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลก

สุนัย์ พลภาณุมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสม่ำเสมอในการแปรงฟันก่อนนอนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดนครนายก. วิทยาสารทันตะสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2566]; 20(3): 44-56. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/cluster-student-5/download?id=47803&mid=32230&mkey=m_document&lang=th&did=15657

เชฎฐชัย ศรีชุชาติ. ความรู้ความเข้าใจในความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องปรามการกระทำผิดทางการเงินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน [ปริญญานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/35771

ธาวินี คำแก้ว. ช่องว่างของข้อมูลข่าวสารระหว่างทันตแพทย์กับกลุ่ม วัยรุ่นตอนต้นในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/27902

Tonkit 360 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นคิด มีเดีย จำกัด; 2562. ติดกินตามใจปาก! ผลสำรวจชี้คนไทยเทใจให้ความชอบส่วนตัวมากกว่าคุณค่าทางอาหาร; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 27 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://tonkit360.com/56560

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04