ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM2.5 ของประชาชนอายุ 18-60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ วิวัฒนไพศาล Triam Udom Suksa School

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ, พฤติกรรมการป้องกัน, PM2.5

บทคัดย่อ

  PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาพ ก่อให้เกิด โรคต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะในเด็ก ผู้มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากการอยู่อาศัย ในเมืองหลวงของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยการทำอุตสาหกรรม และมลพิษจากการขนส่ง

การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมป้องกันฝุ่น PM2.5 ของประชาชนอายุ 18-60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่าง 386 คน ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2566 ผ่านการประชาสัมพันธ์ในกลุ่ม สังคมออนไลน์ในส่วนของข้อมูล ส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ด้วย สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) และใช้สถิติ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผล ต่อพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM2.5 จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับ PM2.5 อยู่ใน ระดับปานกลาง ร้อยละ 59.59 มีเจตคติต่อการป้องกัน PM2.5 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.05 และมี พฤติกรรมการป้องกัน PM2.5 ในระดับดี ร้อยละ 71.24 อย่างไรก็ตาม ระดับการศึกษา อาชีพ และลักษณะการอยู่อาศัยอาจเป็นปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมต่อการป้องกัน ตนเองจากฝุ่นของประชาชนจากการวิเคราะห์สถิติข้อมูลแบบจำลอง เชิงเส้นทำนายพฤติกรรมการป้องกัน PM2.5 พบว่า เจตคติต่อการป้องกัน PM2.5 เป็นตัวแปรที่มีอำนาจในการ ทำนายพฤติกรรมมากที่สุด (β=0.665, p-value <0.05)

ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมความรู้ PM2.5 มุ่งเน้นไปที่ประชาชน ควรเพิ่มช่องทางการกระจายข่าวสารที่ประชาชนเข้าถึงโดยส่วนใหญ่ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและถูกต้องลงบนสื่อสาธารณะ เช่น โทรทัศน์ และ สื่ออินเทอร์เน็ต หรือประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องขยายเสียง

References

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน); 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=2256&lang=TH

World Health Organization [Internet]. Geneva: World Health Organization; c2023. 9 out of 10 people worldwide breathe polluted air, but more countries are taking action; 2018; [about 3 p.]. [cited 2023 Oct 30]. Available from: https://www.who.int/news-room/detail/02-05-2018-9-out-of-10-people-worldwide-breathe-polluted-air-but-more-countries-are-taking-action

วิยงค์ กังวานศุภมงคล. ภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; [ม.ป.ป.] [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://science.royalsociety.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Chapter-7.pdf

บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล, พยงค์ วณิเกียรติ, อัมพร กรอบทอง, กมล ไชยสิทธิ์. ผลต่อสุขภาพของฝุ่นละอองในอากาศขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนกลไกก่อให้เกิดโรค และการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566]; 18(1): 187-202. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JTTAM/article/download/241909/164557/

กิตติคุณ วิวัฒน์ภิญโญ. ฝุ่นละออง PM2.5 กับผลกระทบต่อการเจริญพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ [อินเทอร์เน็ต]. นครปฐม: สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล; [ม.ป.ป.]. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mb.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2021/03/KM-pm25-1.pdf

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/chula-pm25-booklet-1.pdf

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก) [อินเทอร์เน็ต]. พิษณุโลก: สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก): c2559. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป: 2566. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mnre.go.th/reo03/th/news/detail/154265/

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: c2023. ค่า AQI ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index) คืออะไร: [ม.ป.ป.]; [ประมาณ 2 น.]. [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.eng.chula.ac.th/th/29782

World Health Organization. WHO global air quality guidelines. Particulate matter (PM2.5 and PM10), ozone, nitrogen dioxide, sulfur dioxide and carbon monoxide [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2021 [cited 2023 May 26]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/345329/9789240034228-eng.pdf

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษ ด้านฝุ่นละออง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/02/pcdnew-2021-02-18_08-03-46_086635.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมมลพิษ. แผนจัดการมลพิษ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมมลพิษ; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2023/03/pcdnew-2023-03-09_07-22-11_232561.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และผลการดําเนินงาน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hia.anamai.moph.go.th/web-upload/12xb1c83353535e43f224a05e184d8fd75a/m_magazine/35644/3332/file_download/5bf0e02e3ab8bae352084ccdd11ff9cd.pdf

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ พื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มเฝ้าระวังและตอบโต้สภาวะฉุกเฉิน สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1188120211012090447.pdf

Uakarn C, Chaokromthong K, Sintao N. Sample Size Estimation using Yamane and Cochran and Krejcie and Morgan and Green Formulas and Cohen Statistical Power Analysis by G*Power and Comparisons. APHEIT International Journal [Internet]. 2021 [cited 2023 Jul 5]; 18(1): 187-202. Available from: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ATI/article/download/254253/173847/938756#:~:text=Cochran%20Formula%20(Cochran%2C%201977)&text=%EF%BF%BD%EF%BF%BD%20%3D%20sample%20size%20%EF%BF%BD,reliability%20level%20or%20significance%20level

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาและประยุกต์วิชาการ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มสธ.; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post/2018/05/16/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB-%E0%B8%82-%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7-%E0%B8%A2?fbclid=IwAR2ZcoMKYRem_tE87Q4FWIIEVE4i9LHlb8GJZXNuf1YrlJoHJ6oZvgNYqCg

ปริวัตร บุพศิริ, พัชนี เชยจรรยา. รูปแบบและพฤติกรรมการรับข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ [อินเทอร์เน็ต]. ก.ย.-ธ.ค. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2567]; 25(3): 168-183. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/251480/170007

สรวิชญ์ สิทธิยศ, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง, ประจวบ แหลมหลัก. ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกัน PM2.5 ของเยาวชนพื้นที่สูงในช่วงเผาในที่โล่งในจังหวัดพะเยา ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 ตุลาคม 2566]; 9(1): 9-20. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/258411/178411

อรจิรา วงศ์อาษา. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารและพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต] [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=4666&context=chulaetd

พิชฌ์นิพัทธ์ วิชัยโน, ชลวิทย์ เจียรจิตต์, สายชล ปัญญชิต. การรับรู้ความเสี่ยงและผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ของคนเมืองอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสหศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566]; 22(2): 23-41. เข้าถึงได้จาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/256400/174943

ศิริลักษณ์ เจริญรัมย์. ทัศนคติของประชาชนต่อแนวทางการแก้ไขฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://repository.nida.ac.th/server/api/core/bitstreams/d475d128-3ae9-4689-9760-710f30172baa/content

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. การศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hia.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/download/?did=205839&id=100490&reload=

สำนักงานประชาสัมพันธ์. แผนประชาสัมพันธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://circular.bangkok.go.th/doc/20221121/8139.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือฉบับประชาชน การเฝ้าระวัง PM2.5 อย่างไรให้ปลอดภัย [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hia.anamai.moph.go.th/web-upload/12xb1c83353535e43f224a05e184d8fd75a/filecenter/PM2.5/book103.pdf

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: c2017. เปิดงานวิจัย “พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19” ของนักศึกษาปริญญาโทธรรมศาสตร์: 2564; [ประมาณ 3 น.]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://tu.ac.th/thammasat-210164-tbs-research-behavior-people-during-covid-19

วรรษมน จันทรเบญจกุล. ภาวะ Long COVID ที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0-long-covid-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04