ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ในประชาชนเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นครินทร์ อสิพงษ์ -
  • ณัฐปาณี อสิพงษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหลักวอ

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ, การปฏิบัติตัว , มลพิษสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

สถานการณ์ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิต เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สารเคมีปนเปื้อนในอากาศ น้ำเสีย เป็นต้น การรับรู้ถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในการป้องกันตนเองจากอันตรายจากมลพิษสิ่งแวดล้อม งานวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ในประชาชนเขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 600 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โดยใช้ Multiple linear regression ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับสูง (Mean=10.83,SD.=2.46) เจตคติ(Mean=52.59,SD.=6.77) และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง (Mean=52.83,SD.=5.87) ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้มากที่สุด ในเชิงบวก คือ การได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ꞵ=0.559) และในเชิงลบ ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารจากองค์การบริหารส่วนตำบล (ꞵ=-0.701)  ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติมากที่สุด ในเชิงบวกคือ การได้รับข่าวสารผ่านทางสื่อโซเชียล (ꞵ=2.28) และในเชิงลบ คือ ระยะเวลาการใช้สื่อโซเชียลในการรับข่าวสารสิ่งแวดล้อม (ꞵ=-1.19) และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ในเชิงบวก คือ การได้รับความรู้จากหน่วยงานในพื้นที่ (ꞵ=8.488) และในเชิงลบ คือ การได้รับข่าวสารจากคนในครอบครัว (ꞵ=-2.19) จะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวมากที่สุด ได้แก่ การได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การได้รับข่าวสารผ่านทางสื่อโซเชียล และการได้รับความรู้จากหน่วยงานในพื้นที่ ตามลำดับ ดังนั้นหน่วยงานในพื้นที่และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีบทบาสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวที่ดีเพื่อป้องกันปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีปรสิทธิภาพมากขึ้น

References

พระธานี สมนาโค.ปัญหาสิ่งแวดล้อมกับคติความเชื่อในสังคมไทย : กรณีศาลพระภูมิ.วารสารสห-วิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2562;3:35-44

BBC News. มลพิษ: สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป ระบุ 1 ใน 8 ของการเสียชีวิตของคนยุโรปมีสาเหตุจากมลพิษ[ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 เมษายน 2566].เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/international-54094017

กรมอนามัย. แนวทางการป้องกันและดูแลสุขภาพ จากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนสำหรับ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กรมควบคุมมลพิษ.รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564 Thailand State of Pollution Report 2021. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: เอพี คอนเน็กซ์ จำกัด; 2564.

สมพงษ์ บุญเฟรือง. เรียนรู้อยู่กับฝุ่น PM 2.5[ออนไลน์]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]. เข้าถึงจาก:https://www.mnre.go.th/reo11/th/view/?file=pTMgMUqjGP5gAJp2qQWcBUt5pQWgA3plGQIgBJp4qQIcZKtgpQygZUp1GQAgATplqQqcZat1pQygBUp1GQSgAJpjqQIcZKtjpQWgZUplGP1gMJqfqTycMatipTIgoUqcGTMgY2q1qTycZ3t2pQSgY3qxGTSgo2qfqUOcqKti&n=%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%20PM%202&t=GTMgq2qxqS9cMUug

วันปิติ ธรรมศรี. ผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2564;4:329-36.

กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก AGRI-MAP SURIN จังหวัดสุรินทร์.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2564.

Skinner, C.S., Tiro, J. and Champion, V.L. The Health Belief Model In Health Behavior Theory, Research, and Practice. 5th Edition. San Francisco: Jossey-Bass; 2015.

กฤษณ์วรท จันทร์ศรี, ธนกฤต กลึงผล, ณัฐพล วิสุวงษ์, ทฤฒมน ศุภะผ่องศรี. การรับรู้และพฤติกรรมป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กของประชาชน:กรณีศึกษา บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา 2563;1:41-55

สรวิชญ์ สิทธิยศ, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง และ ประจวบ แหลมหลัก.ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกัน PM2.5 ของเยาวชนพื้นที่สูงในช่วงเผาในที่โล่งในจังหวัดพะเยา ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2566;1:9-20

สมรัฐ นัยรัมย์. ปัจจัยและความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยง และพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;1:112-26

ประทุม สีดาจิตต์ และจิตติมา รอดสวาสดิ์. การประเมินความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ จากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย;2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. Health Data Center(HDC):ข้อมูลพื้นฐานและสรุปผู้รับบริการจำแนกตามหน่วยบริการ[ออนไลน์];2566[เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2566].เข้าถึงได้จาก:https://srn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=b91a30012c36ef54910261d9cfc6d7f5&id=8ec43f9ee8a5b450912a021b7b914f7e

Ajzen I Fishbein M. Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. Pbk. ed. Englewood Cliffs N.J: Prentice-Hall; 1980.

ศศิลดา สมสถาน. ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 (อำเภอบ้านฉาง)[วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตชลบุรี;2564.

มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(2):329-43

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30