ความรู้ และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับความเต็มใจในการบริจาคโลหิตของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาอายุ 17-20 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศุจิมน มังคลรังษี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • ปภาดา ประภาตะนันทน์
  • ชัยรัศศ์ รัตนสายใย
  • ปวริศา จิวะวิทูรกิจ
  • พีรวัส โช
  • ภัค บุญยุบล
  • ธรรมธรณ์ จํารูญศรี
  • ณัฐปวีณ์ธิดา เหรียญทองคำ

คำสำคัญ:

บริจาคโลหิต, บริจาคโลหิต, ความรู้, ทัศนคติ, ความเต็มใจบริจาคโลหิต, ทัศนคติ, ความเต็มใจบริจาคโลหิต

บทคัดย่อ

จากสถิติของศูนย์บริจาคโลหิต พบว่าผู้บริจาคโลหิตเพียงปีละ 1 ครั้งมีมากถึงร้อยละ 68.49 ซึ่งส่งผลให้ปริมาณ โลหิตสำรองในประเทศไทยยังคงขาดแคลนในบางช่วงเวลาในขณะที่ผู้บริจาคโลหิต ช่วงอายุ 17-20 ปี มีเพียงร้อยละ 8.00 เท่านั้น การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยนี้คือเพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเต็มใจบริจาค โลหิตของนักเรียนนักศึกษาอายุ 17-20 ปี ในเขตกรุงเทพ มหานคร  ทำการเก็บข้อมูลศึกษา ระหว่างเดือนเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 386 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ออนไลน์ (Google From)วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดย Chi-Square ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้และทัศนคติต่อการบริจาคโลหิต อยู่ระดับสูง ร้อยละ 60.10 และ ร้อยละ 88.00 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่าง ทราบถึงความสำคัญของการ บริจาคโลหิต ร้อยละ 98.19 การนำโลหิตไปใช้ ร้อยละ 98.19 การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนบริจาคโลหิต ร้อยละ 95.34 ในทางกลับกันกลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่ทราบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์สุขภาพการบริจาคโลหิต เช่น เกณฑ์น้ำหนักตัวที่บริจาคโลหิตได้ ร้อยละ 33.16 เกณฑ์อายุที่บริจาคโลหิตได้ 59.84 และ เกณฑ์การบริจาคโลหิตของผู้เป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 71.50  ทางด้านความเต็มใจบริจาคโลหิตกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.60  “เต็มใจบริจาคโลหิต” ไม่แน่ใจ ร้อยละ 28.50 และ “ไม่เต็มใจร้อยละ 3.90 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเต็มใจบริจาคโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (p<0.05) สายอาชีพที่สนใจศึกษาต่อ (p<0.05) และเคยบริจาคโลหิต (p<0.05) ควรจัดหาหน่วยรับบริจาค ให้บริการตามจุดที่มีกลุ่มตัวอย่าง อายุ 17-20 ปี เช่น สถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัย หรือศูนย์การค้า ที่วัยรุ่นนิยมไป ท่องเที่ยวผักผ่อน ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มปริมาณโลหิตบริจาคจากลุ่มเยาวชน

References

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ. PLUS 1 เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ: 2020 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://redcross.or.th/news/information/9669/

สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. การบริจาคโลหิตในยุค COVID-19. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย: c2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://tsh.or.th/Knowledge/Details/70

ภณิดา คำธิตา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาบริจาคโลหิตซ้ำในผู้บริจาคโลหิต โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2557; 10(3): 237-250.

กฤตกรณ์ ประทุมวงษ์, รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว, ปรีชา ลอเสรีวานิช. ปัจจัยพฤติกรรมและการตัดสินใจในการบริจาคโลหิตของบุคลากร มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี: 2020 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bkkthon.ac.th/home/user_files/department/department-24/files/3-57.pdf

Wang J, Chen L, Yu M, He J. Impact of knowledge, attitude, and practice (KAP)-based rehabilitation education on the KAP of patients with intervertebral disc herniation. Ann Palliat Med. 2020; 9(2): 388-393.

ชัยเวช นุชประยูร. การให้ความรู้ การสร้างแรงจูงใจ และการจัดหาผู้บริจาคโลหิต. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2536; 3(4): 313-316.

ขนิษฐา ลือสัตย์. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ร่วมกับ ก.ศึกษาธิการ สร้างหลักสูตรการบริจาคโลหิต เสริมกิจกรรมยุวกาชาด ถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชน. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์: 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220726133340480

สายทอง วงศ์คำ. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริจาคเลือดของผู้ที่มาบริจาคเลือด ณ ธนาคารเลือด โรงพยาบาลหัวหิน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2558; 26(2): 83-94.

Uakarn C, Chaokromthong K, Sintao N. Sample Size Estimation using Yamane and Cochran and Krejcie and Morgan and Green Formulas and Cohen Statistical Power Analysis by G*Power and Comparisons. APHEIT Int. J. 2021; 10(2): 76-88.

Bloom BS, editors. Taxonomy of education objective: The Classification of Educational Goals. New York: David Mckay Company; 1956.

สุรพงษ์ คงสัตย์, ธีรชาติ ธรรมวงค์. การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). [อินเทอร์เน็ต]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: c2020 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch. 1977; 2(2): 49–60.

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ. ข่าวประชาสัมพันธ์. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ: 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://redcross.or.th/

ดวงนภา อินทรสงเคราะห์, ปิยธิดา ตรีเดช,วงเดือน ปั้นดี. การตัดสินใจบริจาคโลหิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมรานี กรุงเทพ. 2556. 29(1): 65-81.

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ. เชิญชวนบริจาคโลหิตเนื่องในวันกาชาดโลก. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://redcross.or.th/news/information/14572/

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ. น้ำหนักเท่าไร จึงจะบริจาคโลหิตได้?. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ: 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/nbctrc/posts/2714029495374793/?locale=th_TH&_rdc=1&_rdr

กุลวรา กิตติสาเรศ. เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนบริจาคโลหิต. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล: 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=789

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ, ปิยธิดา บุราณผาย, อภิชาต ป้องทองหลาง, วิไลรัตน์ โรจน์ฉิมพลี, กนกรัตน์ ปรีชาพูด, จิรศักดิ์ อินอ่อน . ความรู้และเจตคติของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ต่อการบริจาคเลือด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2561; 24(1): 104-116.

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ. ทำไมต้องบริจาคโลหิต?. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://redcross.or.th/news/information/13117/

อัญชลี โพธิ์ชัยเลิศ. ปัจจัยที่มีผลต่อจิตสำนึกสาธารณะในการบริจาคโลหิต [ปริญญานิพนธ์ ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน: ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Mansfield AK, Addis ME, Mahalik JR. ‘Why won’t he go to the doctor?’: The psychology of men’s help seeking. International Journal of Men's Health. 2003; 2(2): 93-109.

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. ปริมาณเลือดในคลัง. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย: 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://blooddonationthai.com/การบริจาค/คุณสมบัติ/

เยาวรีย์ กิตติกัลยาวงศ์, เกศรินทร์ อยู่เปล่า, เกิดรพี อินสว่าง, กฤศธร องค์ติลานนท์, อิศรางค์ นุชประยูร. ผลการเสริมธาตุเกล็กแก่ผู้ที่มีภาวะความเข้มโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์ ณ ศุนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาติไทย. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2551; 18(4): 279-288.

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง [อินเทอร์เน็ต]. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-450-file06-2022-11-28-10-40-52.pdf

พิศสมัย อรทัย, พัชรินทร์ นินทจันทร์. การทดสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงสำหรับวัยรุ่นไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2557; 8(3): 2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30