ประสิทธิภาพของสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียและแอลกอฮอล์เจลในการยับยั้งแบคทีเรีย

ผู้แต่ง

  • ชุติญา จิตบุญทวีสุข
  • กชสร รัตนวิชัย
  • ศุจิมน มังคลรังษี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

คำสำคัญ:

สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย, ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย, แอลกอฮอล์เจล, ประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

การล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล เป็นกระบวนการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด เพื่อให้เห็นความสำคัญของการล้างมือที่ถูกต้อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลต่อการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียบนฝ่ามือของอาสาสมัคร โดยทำการเก็บตัวอย่างก่อนล้างมือ และหลังล้างมือที่ถูกต้องทั้งการล้างมือด้วยสบู่ และการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การทดลองที่ 1 ตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มเเบคทีเรียบนฝ่ามือโดยชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) เเละการทดลองที่ 2 ตรวจเชื้อเเบคทีเรียทั้งหมดบนฝ่ามือโดยชุดทดสอบแบคทีเรียทั้งหมดในภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (Compact Dry TC) ทำการเก็บตัวอย่างจากมือของอาสาสมัครที่เต็มใจในการเข้าร่วมโครงการจำนวน 29 คน โดยอาสาสมัครเป็นพนักงานในอาคารในพื้นที่ แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นการเก็บตัวอย่างแบบสะดวก ในการทดลองที่ 1 ใช้สถิติการรายงานผลแบบร้อยละ และจำนวน ส่วนการทดลองที่ 2 ใช้สถิติการรายงานผลแบบค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจำนวน จากการทดสอบพบว่าการล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียบบนผ่ามือของสามาสมัครได้ 100 เปอร์เซ็น ในการทดสอบหาปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดพบว่าก่อนการล้างมือด้วยสบู่บนเชื้อแบคทีเรียบนฝ่ามือเฉลี่ย 47 ± 30.41 โคโลนี/25 ตารางเซนติเมตร และลดลงเหลือเฉลี่ย 21 ±  29.70 โคโลนี/25 ตารางเซนติเมตรหลังล้างมือ ส่วนการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ลดจำนวนโคโลนีเฉลี่ย 63 ± 26.92 โคโลนี/25 ตารางเซนติเมตร เหลือ 12 ± 11.18 โคโลนี/25 ตารางเซนติเมตร จากการทดสอบสามารถสรุปได้ว่าการล้างมือที่ถูกวิธีทั้งการล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้โดยประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียของการล้างมือทั้งสองแบบไม่แตกต่างกัน

References

วัชรภัทร เตโชวีรกุล, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. สภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งอำเภอเมืองจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565; 15(2): 31-45.

ชูสกุล พิริยะ, ปณิธี ธัมมวิจยะ. สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565–22 กุมภาพันธ์ 2566 จากฐานข้อมูลระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์กรมควบคุมโรค. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2566; 54(17): 261-272.

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562. โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ศัตรูตัวร้าย แฝงอันตรายในน้ำใส; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ต.ค. 2566]; [ประมาณ 2 น.]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/coliform-bacteria-in-drinking-water/

กิตติมา ไมตรีประดับศรี, มลวดี ศรีหะทัย, กัลยาณี อุดง. ความชุกของแบคทีเรียก่อโรคและกลุ่มโคลิฟอร์มกรณีสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในเขตสุขภาพที่วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.2563;3(2):27-41.

ธัญนันท์ ฤทธิ์มณี, สิขเรศ คงแก้ว. สภาพการณ์ด้านสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารริมบาทวิถีในตลาดอาหารกลางคืนจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2566; 8(1): 10-18.

โรงพยาบาลโนนศิลา [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: โรงพยาบาลโนนศิลา; 2563. การล้างมือ 7 ขั้นตอน; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ต.ค. 2566]; [ประมาณ 1 น.]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nonsilahospital.go.th/525.html

ปราณี เติมธนาสมบัติ. การพัฒนาสูตรตำรับแอลกอฮอล์เจลสำหรับล้างมือ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2555; 21(6): 1192-1199.

World Health Organization Thailand. วิธีการล้างมือ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: World Health Organization Thailand; 2009 [เข้าถึงเมื่อ 30 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/how-to-handwash-handrub-poster-thai-final.pdf?sfvrsn=7c095f91_0#:~:text=ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เพื่อรักษาสุขอนามัย,ทั่วมือทั้งสองข้าง

บริษัท บี สมาร์ท ซายเอ็นซ์ จำกัด [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: บริษัท บี สมาร์ท ซายเอ็นซ์ จำกัด; c2023. ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-2) เฉพาะน้ำยา; 2020 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bsmartsci.com/product/4/ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น-si-2-เฉพาะน้ำยา

บริษัท บี สมาร์ท ซายเอ็นซ์ จำกัด [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: บริษัท บี สมาร์ท ซายเอ็นซ์ จำกัด; c2023. ชุดทดสอบแบคทีเรียทั้งหมดในภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (Compact Dry TC); 2022 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bsmartsci.com/product/957/ชุดทดสอบแบคทีเรียทั้งหมดในภาชนะสัมผัสอาหารและมือ-compact-dry-tc

มงคล เพ็ญสายใจ, ธีรธร วสุรัตต์, รณกร ทองเฉลิม. ประสิทธิภาพการล้างมือขณะใส่ถุงมือในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 2566; 32(1): 120-138.

นันท์มนัส แย้มบุตร, เกศกัญญา สัพพะเลข, รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์. ประสิทธิภาพการล้างมือในนิสิตทันตแพทย์ระดับปริญญาบัณฑิตและหลังปริญญา [อินเทอร์เน็ต]. ใน: ลําปาง แม่นมาตย์, อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์, ดุษฎี อายุวัฒน์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15; 28 มีนาคม 2557; ขอนแก่น. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ย. 2566]. น.1288-1297.เข้าถึงได้จาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/mmp17.pdf

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์; c2563. ล้างมือให้สะอาด สำคัญอย่างไร; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 14 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/hand-hygiene#:~:text=3.%20Surgical%20hand%20washing%20(การ,เป็นเวลา%202-5%20นาที

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30