ระบาดวิทยาผู้สูงอายุบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 9
คำสำคัญ:
ระบาดวิทยา, ผู้สูงอายุ, การพลัดตกหกล้มบทคัดย่อ
เพื่อศึกษาระบาดวิทยาผู้สูงอายุที่บาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มปี 2565 – 2566 กรณีศึกษา Falls Prevention Team ระดับดีเยี่ยมพลัส เขตสุขภาพที่ 9 จากรายงานการสอบสวนการพลัดตกหกล้มผู้สูงอายุที่บาดเจ็บและมารับบริการ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มและบาดเจ็บ 49 ราย จำแนกเป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.4 พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 40.8 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 61.2 รับประทานยาอย่างน้อย 4 ชนิด (ไม่รวมวิตามิน) ร้อยละ 46.7 มีประวัติการพลัดตกหกล้มในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 38.8 มีความบกพร่องด้านการมองเห็น ร้อยละ 42.9 ด้านการทรงตัว ร้อยละ 55.6 การนั่ง ลุก ยืน เดินช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 52.8 การพลัดตกหกล้ม ส่วนใหญ่เกิดภายในบ้าน ร้อยละ 69.4 พลัดตกหกล้มขณะเดิน ร้อยละ 61.2 จากสาเหตุของพื้นลื่น ร้อยละ 38.8 การบาดเจ็บมีกระดูกหัก ร้อยละ 28.6 และนำส่งโรงพยาบาลโดยญาติหรือผู้พบเห็นเหตุการณ์ ร้อยละ 89.8 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 27 ราย ผ่าตัดกระดูก ร้อยละ 14.3 ได้รับการฟื้นฟู ร้อยละ 49.0 ภายหลังเกิดเหตุมีการปรับปรุง แก้ไขจุดเสี่ยงสูง ร้อยละ 69.4 ด้วยการจัดวางสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบ ติดตั้งราวจับยึด การใช้ไม้เท้าพยุงตัวขณะเดิน ดังนั้น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ควรนำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนามาตรการลดปัจจัยและโอกาสเสี่ยง มาตรการการเข้าถึงบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และมาตรการดูแลระยะยาวภายหลังการบาดเจ็บของผู้สูงอายุภายใต้บริบทของพื้นที่
References
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562–2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565 การป้องกันการบาดเจ็บ [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2566 กันยายน 14 ]; เข้าถึงจาก: https:// https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=34621&deptcode=
นิพา ศรีช้าง และ ลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข[อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2566 กันยายน 15 ]; เข้าถึงจาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=12095&tid=&gid=1-027
World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. [Internet]. 2019.[Cited 2021 April 29]; Available from: https://www.who.int/publi cations/i/item/9789241563536
Thiamwong L, Thamarpirat J, Maneesriwongul W, et al. Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. Journal of the Medical Association of Thailand 2008, 91(12), 1823-1832.
Loonlawong S., Limroongreungrat W. and Jiamjarasrangsi W. 2019. The Stay Independent Brochure as a Screening Evaluation for Fall Risk in an Elderly Thai Population. Clinical Interventions in Aging 2019.14 2155–2162.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2561.กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;2561.
Suksrisai B, Linhavong J, Manonom S, et al. Prevalence and Factors Affecting First and Recurrent Hip Fracture in the Elderly: A Retrospective Study from Inpatients at Thammasat University Hospital. Thammasat Medical Journal; 2020 275-285
Lektip, C.; Lapmanee, S.; Rattananupong, T.; Lohsoonthorn, V.; Vorayingyong, A.; Woratanarat, T.; Sirisuk, K.-O.; Suttanon, P.; Petsirasan, R.; Kitidumrongsuk, P.; et al. Predictive validity of three home fall hazard assessment tools for older adults in Thailand. PLoS ONE. 2020 Dec 31;15 (12): https://doi.org/10.1371/journal.pone.0244729
จตุพร เหลืองอุบล, สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงวัยในเขตมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563; ปีที่ 27 ฉบับที่ 3:11-21
อัศนัย เล่งอี้, พันธพัฒน์ บุญมา. สภาพแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม กรณีศึกษาตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563; ปีที่ 19 ฉบับที่ 3:40-60.
ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, และคณะ.การประเมินความเสี่ยงและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารควบคุมโรค ปีที่ 46 ฉบับที่ 4 ต.ค.-ธ.ค. 2563
วนิดา ราชมี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
นงนุช วงศ์สว่าง, และคณะ. ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) 2560, 10(3), 2492-2506
ดาราวรรณ รองเมือง, และคณะ. อุบัติการณ์ของการหกล้ม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559; ปีที่ 27 ฉบับเพิ่มเติม:123-38.
ละออม สร้อยแสง, จริยวัตร คมพยัคฆ์ และกนกพร นทีธนสมบัติ. การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา.วารสารพยาบาลทหารบก2557.15,(มกราคม-เมษายน):122-128)
อริสรา บุญรักษา. ปัจจัยที่มีผลต่อการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2564
ประเสริฐ ศรีนวล, และธนัช กนกเทศ. อุบัติเหตุพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุไทยความมั่นใจที่อันตราย. วารสารพยาบาลทหารบก 2564. 22 (2), 65-70.
ศรวณีย์ ทนุชิต, ดนัย ชินคำ, ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล และศรีเพ็ญ ตันติเวส. (2560). การศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ. เติมรู้ เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. [อินเทอร์เน็ต].2562. [เข้าถึงเมื่อ2566 กันยายน 14 ]; เข้าถึงจาก:https://www.dop.go.th/download/knowledge/th156870830