การพัฒนาระบบและกลไกการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร ‘SALE Model’ ตัวแบบลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ชูพงษ์ คงเกษม -
  • วิไลลักษณ์ หมดมลทิน
  • ณรษา เรืองวิลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร, ตัวแบบลพบุรี ‘SALE Model

บทคัดย่อ

 การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบและกลไกการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เครือข่าย จำนวน 408 คน ผู้ดูแล จำนวน 102 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 102 คน กระบวนการพัฒนาตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart (1988) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล ได้แก่ การมีส่วนร่วมของเครือข่าย ศักยภาพของผู้ดูแล และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา, paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบและกลไกการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร มี 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาสถานการณ์ 2) กระบวนการพัฒนา และ 3) การประเมินผล ผลการพัฒนาระบบ ได้แก่       มีระบบการคัดกรองสุขภาพ สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุ มีการพัฒนาเครือข่าย จัดบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลในระยะท้ายของชีวิต หลังพัฒนาเครือข่ายรับรู้การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูงมากกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) จากร้อยละ 40.2 เป็นร้อยละ 71.3 มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบอยู่ในระดับสูงมากกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) จากร้อยละ 77.9 เป็นร้อยละ 78.2 และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุระดับดีเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) จากร้อยละ 72.8 เป็นร้อยละ 73.8 ศักยภาพผู้ดูแลด้านบทบาทมีระดับสูง ร้อยละ 81.4 และมีความสามารถในการดูแล ร้อยละ 87.3 หลังพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.0

สรุป การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุครบวงจร ได้ตัวแบบ ‘SALE Model’ สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างครอบคลุม ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

References

WHO. Thailand’s leadership and innovations towards healthy ageing. 2023. [Cited 2023 June 2]. Form https://www.who.int/thailand

กุสาวดี เมลืองนนท์, ชะอรสิน สุขศรีวงศ์, ศนิตา หิรัญรัศมี, ตวงรัตน์ โพธะ. ระบบการดูแลระยะยาวแบบต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต. JHCR 2023; 17(1): 149-162.

กองแผนงาน กรมอนามัย. โครงการเฝ้าระวังและพัฒนาสารสนเทศสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2566. [เข้าถึงเมื่อ 4 มิถุนายน 2566]. จาก https://doc.anamai.moph.go.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. ข้อมูล HDC จังหวัดลพบุรี, 2565. [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2566]. จาก http://wwwlbo.moph.go.th

Kemmis S, McTaggar M, Eds. The Action Research planner. Victoria, Australia: Deakin University, 1988.

Wayne WD. Biostatistics: A Foundations for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons, 1995.

ศิราณี ศรีหาภาค, ธารา รัตนอำนวยศิริ, นวลละออง ทองโคตร. รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสาน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(1): 165-178.

สายทิพย์ เป็นคุณ, พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร, สงัด เชียนจันทึก, พระเมธาวินัยรส, สายัณห์ อินนันใจ. นวัตกรรมเชิงชุมชนสำหรับดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุโดยใช้ครอบครัวและวัดเป็นฐานในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2565; 7(9): 374-384.

ศศินันท์ สายแวว, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 7(04): 187-97.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2558.

Pattanaphesaj J. Health-related quality of life measure (EQ-5D-5L): measurement property testing and its preference-based score in Thai population [Doctoral dissertation]: Mahidol University, 2014. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565]. จาก https://www.hitap.net

รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. ตัวแบบในการดูแลผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563; 7(2): 100-13.

สุกัญญา ปวงนิยม, นงณภัทร รุ่งเนย, อุไรรัชต์ บุญแท้. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5; 2562; 38(3): 178-95.

วัฒนา จันทร์เปรม, มยุรี บุญทัด, วิสุทธิ์ โนจิตต์, ไพศาล ขุนวิเศษ. การประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดชัยนาท กรณีศึกษา ตำบล LTC ดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ 3. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2566; 6(1): 14-34.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, มาริสา สุวรรณราช. สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562; 11(2); 118-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04