การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน : กรณีศึกษา ผู้ป่วยเอชไอวีระยะสุดท้ายที่มีภาวะแทรกซ้อน

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา หงษ์ยนต์
  • บุศรา อนุพันธ์
  • ประณมกร พาหะนิช

คำสำคัญ:

การดูแลระยะสุดท้าย, ผู้ป่วยเอชไอวี

บทคัดย่อ

การวิจัยกรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีภาวะแทรกซ้อน เกณฑ์ในการคัดเข้าคัดเลือกผู้ป่วยเอชไอวีระยะสุดท้ายที่มี PPS Score < 40  คะแนน ส่งต่อจากโรงพยาบาลเพื่อดูแลที่บ้าน วิธีการวิจัยแบบกรณีศึกษาจำนวน 2 ราย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย แบบประเมิน PPS score    แบบประเมิน ADL  แบบประเมินความเครียด ST-5 แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q และ แบบประเมิน 9Q  เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ประยุกต์ใช้ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง 

              ผลการวิจัยพบว่า  กรณีศึกษาที่ 1 เพศหญิง อายุ 50 ปี  สถานภาพสมรสคู่ สามีเป็นผู้ดูแล มีอาชีพค้าขาย ประวัติบิดามารดาและพี่สาวเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอด ได้รับการวินิจฉัยเป็นติดเชื้อเอชไอวีและมะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย และรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีร่วมกับยาบรรเทาอาการปวด คะแนน PPS = 40% ไม่มีภาวะพึ่งพา ความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ไม่มีภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยและญาติปรับตัวต่อการเจ็บป่วย  กรณีศึกษาที่ 2 เพศชาย อายุ 33 ปี สถานภาพสมรสหม้าย บิดามารดาเป็นผู้ดูแล ไม่มีรายได้ ไม่เคยตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้รับการวินิจฉัยมีการแพร่กระจายของเชื้อที่สมองไม่ได้รับยาต้านเอชไอวี ได้รับยาบรรเทาอาการปวด คะแนน PPS = 10% (อาการอยู่ในระยะสุดท้าย)  มีภาวะพึ่งพา และมีภาวะซึมเศร้า และบิดายังปรับตัวไม่ได้เนื่องจากเคยสูญเสียบุตรชาย การจัดการปัญหาของทั้งสองกรณีเป็นไปตามแนวทางการดูแลระยะสุดท้าย และสิ่งที่ต้องคำนึงคือการเตรียมจิตใจของญาติให้สามารถเผชิญกับการสูญเสีย

References

World Health Organization [WHO]. (2020). Palliative Care. Retrieved from:

https://www.who. int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organisation). (2018). Hospital and healthcare standards (4th ed.). Nonthaburi: The Healthcare Accreditation Institute (Public

Organisation) (in Thai)

World Health Organization. (2016a). WHO definition of palliative care. Retrieved from

http://www.who.int/cancer/palliative/definition/e

สุรีพร ธนศิลป์. (2563). การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

กิตติกร นิลมานัต.(2555).การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต.สงขลา:ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04