การพัฒนารูปแบบการป้องกันการขาดนัดของผู้เสพยาเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีน
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การป้องกันการขาดนัด, การบำบัดผู้ติดยาเสพติดบทคัดย่อ
การป้องกันการขาดนัดของผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีนที่ผ่านมาไม่สามารถเพิ่มอัตราคงอยู่ในระบบการบำบัด การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการขาดนัดของผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีนในโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 46 คน ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และผู้เสพสารเสพติดที่ผ่านกระบวนการบำบัดพร้อมญาติ 26 คน และผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีน 20 คน ซึ่งคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม และการสนทนากลุ่ม ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานการป้องกันการขาดนัดของผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีนในระยะหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากทุกด้านและเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001) และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก นอกจากนี้พบว่ากลุ่มผู้เสพสารเสพติดมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และเข้ารับการบำบัดครบตามโปรแกรมทั้งหมด (ร้อยละ 100)
สรุปผลการศึกษา พบว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการป้องกันการขาดนัดสำหรับผู้เสพสารเสพติดกลุ่มเมทแอมเฟตามีนครั้งนี้คือการวิเคราะห์และทบทวนปัญหาอุปสรรคของ การดำเนินงานที่ผ่านมาโดยผู้เกี่ยวข้อง และการได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนในรูปแบบของผู้ดูแลช่วยเหลือเพื่อน ส่งผลให้ผู้เสพสารเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาตามโปรแกรม ซึ่งทำให้การดำเนินงานตามการป้องกันการขาดนัดของผู้เสพสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีนเป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
References
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี; 2564.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินงานศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564.
กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ[อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 11 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://citly.me/alj5o.
ประพัทธ์ ธรรมวงศา. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น. 2567; 6: 1-14.
Kemmis, S & McTaggart, R. The Action research Planer. 3rd ed: Victoria: Deakin University; 1988.
โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น. คู่มือการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอก สำหรับกลุ่มเสพ. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์บริษัท ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา จำกัด; 2562.
Best, J. W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersy: Practice Hall, Inc; 1977.
สุมัทนา กลางคาร, และ วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์สาคามเปเปอร์; 2553.
นภัสสรณ์ รังสิเวโรจน์. การพัฒนาระบบฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้เสพสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนโดยครอบครัวอุปถัมภ์. วารสารกรมการแพทย์. 2563; 45(4), 81-90. 9
กนกลักษณ์ ศิริรุ่งวัฒนากุล. ประสิทธิผลและปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดโดยใช้รูปแบบการบำบัดความคิดและพฤติกรรมแบบประยุกต์ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์: วารสารการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 2565; 16: 23-33.
สมบูรณ์ อำพนพนารัตน์. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันไฟป่า กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่นจังหวัดสระบุรี. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2542.
โสณกุญช์ ทรัพย์สมบัติ. การพัฒนาเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเองในการแก้ไขปัญหายาเสพติด[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง; 2556.
อินทร์ทิพย์ อินทรสุข. บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดหลังการบำบัดรักษาในกลุ่มเสพซ้ำ. วารสารวิชาการเสพติด. 2556; 1:32- 43.
อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์, อิสยัส มะเก็ง, ฮูเซ็น ซาวัล. บทบาทของครอบครัวมุสลิมต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการบำบัดรักษาผู้ป่วย (ผู้ติดยาเสพติด) กรณีศึกษาสถานบำบัดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี: วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2565; 13: 66-96.
อรรถพงษ์ ฉัตรดอน. แรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เข้ารับการบำบัดสารเสพติดในโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารการแพทย์ เขต 4-5. 2564; 40: 181.
อรอนงค์ หงส์ชุมแพ. ความรู้เกี่ยวกับยาบ้าและการป้องกันตนเองจากการเสพยาบ้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2538