การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการตรวจผ่านระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการตรวจแบบดั้งเดิมในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • รัฐศาสตร์ สุดหนองบัว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

ตรวจผ่านระบบการแพทย์ทางไกล, ตรวจแบบดั้งเดิม, ผู้ป่วยเบาหวาน, ควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการตรวจผ่านระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการตรวจแบบดั้งเดิมเพื่อควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน การศึกษาเชิงกึ่งทดลอง (Qusai Experimental Research) แบบกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองครั้งนี้ ดำเนินการวัดผลการทดสอบก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ ดำเนินการวัดผลการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ภายใต้กรอบแนวคิดการให้ความรู้และเสริมสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1c≥7) ได้รับการสุ่มเป็นกลุ่ม เพื่อรับบริการตรวจผ่านระบบการแพทย์ทางไกล ด้วย LINE Application 39 คน และกลุ่มรับบริการแบบดั้งเดิม 39 คน ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลมหาชนะชัย อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน  ผลการวิจัยพบว่าน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ที่ติดตามครบ 12 สัปดาห์ จำนวน 75 คน พบว่าค่าเฉลี่ย HbA1c ลดลงจากค่าตั้งต้นในทั้งสองกลุ่มแต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.328) และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (FPG) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.127) ส่วนการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการจัดการตนเองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p = 0.002) โดยกลุ่มที่ได้รับการตรวจผ่านระบบการแพทย์ทางไกลมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น  สรุป การตรวจผ่านระบบTelemedicine สามารถนำไปใช้ในการตรวจรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงต่ำได้อย่างปลอดภัย ลดความแออัดของผู้ป่วย ลดภาระการเดินทางของผู้ป่วย

References

Qiao J, Lin X, Wu Y, Huang X, Pan X, Xu J, et al. Global burden of non-communicable diseases attributable to dietary risks in 1990-2019. J Hum Nutr Diet. 2022;35(1):202-13.

The Global Burden of Disease. Global Burden of Disease Study 2019 (GBD 2019) [Internet]. 2020 [cite 10 November 2023]. Available from: https://vizhub.healthdata.org/gbd-results/

Ministry of Public Health Thailand., United Nations Thailand., UN interagency Task Force on NCDs. Preventive and Contral of Noncommunicable Disease in Thailand. Nonthaburi: Ministry of Public Health Thailand; 2022.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2562. นนทบุรี: บริษัท แฮนดี เพรส จำกัด; 2566.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน ชี้ ‘เนือยนิ่ง-อ้วน-อายุมาก’ ต้นเหตุ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18014.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2566.

Greeviroj P, Thavaraputta S, Buranasupkajorn P, Laichuthai N. The Impact of Telemedicine-Augmented Integrated Personalized Diabetes Management on Glycemic Control in Adults with Diabetes Mellitus During the COVID-19 Pandemic: A Retrospective Study. Asia Pac J Public Health. 2023;35(2-3):194-6.

Wang X, Ji X. Sample Size Estimation in Clinical Research: From Randomized Controlled Trials to Observational Studies. Chest. 2020;158(1s):S12-s20.

Kempf K, Altpeter B, Berger J, Reuß O, Fuchs M, Schneider M, et al. Efficacy of the Telemedical Lifestyle intervention Program TeLiPro in Advanced Stages of Type 2 Diabetes: A Randomized Controlled Trial. Diabetes Care. 2017;40(7):863-71.

Sun C, Sun L, Xi S, Zhang H, Wang H, Feng Y, et al. Mobile Phone-Based Telemedicine Practice in Older Chinese Patients with Type 2 Diabetes Mellitus: Randomized Controlled Trial. JMIR Mhealth Uhealth. 2019;7(1):e10664.

กนกอร พิเดช, ปชาณัฎฐ์ นันไทยทวีกุล และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. RELIABILITY AND EXPLORATORY FACTOR ANALYSIS OF THAI VERSION FOR THE PATIENT ACTIVATION MEASURE SHORT FROM QUESTIONNAIRE. JOURNAL OF THE POLICE NURSES. 2019;11(1):235-42.

Wild SH, Hanley J, Lewis SC, McKnight JA, McCloughan LB, Padfield PL, et al. Supported Telemonitoring and Glycemic Control in People with Type 2 Diabetes: The Telescot Diabetes Pragmatic Multicenter Randomized Controlled Trial. PLoS Med. 2016;13(7):e1002098.

Fortmann AL, Gallo LC, Garcia MI, Taleb M, Euyoque JA, Clark T, et al. Dulce Digital: An mHealth SMS-Based Intervention Improves Glycemic Control in Hispanics with Type 2 Diabetes. Diabetes Care. 2017;40(10):1349-55.

วนิดา ศรีริภาพ. พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2564;1(2):57-68.

อรชพร กุณาศล. ผลของเชียงยืนโมเดล ในการป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดซ้ำในผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใน โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;18(2):123-9.

นวพร ทุมแถว, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(3):32-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04