ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในกลุ่มชาติพันธุ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา ยาวิโล -
  • สรวิศ บุญญฐี

คำสำคัญ:

ความร่วมมือในการใช้ยา, โรคความดันโลหิตสูง, ชาติพันธุ์, แบบจำลองความหลากหลายมิติของความร่วมมือ

บทคัดย่อ

ที่มา:  โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ร้ายแรง เป็นฆาตกรเงียบเพราะเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ อีกมากมาย และยังมีผู้ป่วยอีกหลายล้านคนที่ได้รับการรักษาแต่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้เหมาะสมได้ การที่ผู้ป่วยไม่มีความร่วมมือในการใช้ยาเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิตที่สูง และมีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า เชื้อชาติ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยา งานวิจัยฉบับนี้จึงทำการศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยา และสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในกลุ่มชาติพันธุ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ ปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ

แบบวิจัย: เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง

วัสดุและวิธีการ: ศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565  ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษา: ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย ในด้านของทัศนคติ/ความเชื่อเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและยาลดความดันโลหิต ส่งผลทางบวกต่อคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา มีค่าเท่ากับ 0.511 (p-value<0.01) และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ในด้านความซับซ้อนของแผนการใช้ยาส่งผลทางลบต่อคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา มีค่าเท่ากับ 0.161 (p-value<0.05) โดยปัจจัยทั้งสองสามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาได้ร้อยละ 27.90 (Adjusted R square = 0.279)

สรุป: ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย ในด้านของทัศนคติ/ความเชื่อเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและยาลดความดันโลหิต และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ในด้านความซับซ้อนของแผนการใช้ยา สามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาได้ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

โดยสามารถนำผลจากการศึกษานี้ไปใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์เป็นกลุ่มเปราะบาง ที่ต้องอาศัยความเข้าใจเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านของภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อที่สืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

References

World Health Organization. Hypertension. [Online].2023 [cited 2023 April 10]. Available from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. อัตราความชุกโรคความดันโลหิตสูง [Available from: http://61.19.32.29/smart-ncd-cro/web/index.php?r=report/greport&id=ht_Prevalence&ampur=09&sp_level=&year=2023

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่ 1 เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ทริค ธิงค์; 2562

Karen Strike, Anthony Chan, Alfonso lorio, Monica R. Maly, Paul W. Stratford, Patricia Solomon. Predictors of treatment adherence in patients with chronic disease using the Multidimensional Adherence Model: unique considerations for patients with haemophilia. J Haem Pract 2020; 7(1):92-101. doi: 10.17225/jhp00152

Alina Gast and Tim Mathes. Medication adherence influencing factors—an (updated) overview of systematic reviews. Gast and Mathes Systematic Reviews 2019; 8(112):1-17.

Spoorthy Kulkarni and Johann Graggaber. How to improve compliance to hypertension treatment. e-Journal of Cardiology Practice 2022; 22(1)

Zhiwen Xie, Patricia St. Clair, Dana P. Goldman, Geoffrey Joyce. Racial and ethnic disparities in medication adherence among privately insured patients in the United States. Plos one 2019; 14(2):1-9.doi:

Daniel, W. W. (1999). Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. (7th ed). New York: John Wiley & Sons.

นงลักษณ์ อิงคมณี, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. Journal of Nursing Science 2011;29(2):56-64

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.

คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ.2564. พิมพ์ครั้งที่ 1; 2564

กระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์การจัดสรรทรัพยากรในการบริบาลผู้ป่วยวิกฤต ในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศไทย.

วนิดา มานะกิจจงกล. การใช้ดัชนีวัดความซับซ้อนของแบบแผนการใช้ยา เพื่อประเมินความร่วมมือในการใช้ยา ของผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลสระบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549.

Wongpakaran T, Wongpakaran N. A revised Thai Multi-dimensional Scale of Perceived Social Support (MSPSS). Spanish J Psychol. In press 2012; 15.

Anderson LA, Dedrick RF. Development of the trust in physician scale: a measure to assess interpersonal trust in patient-physician relationships. Psychol Rep. 1990; 67(3_suppl):1091-100

ชาคริญาณ์ บุญเกื้อ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, ฉัตรกนก ทุมวิภาต. ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิด ในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หลังทำหัตดการขยายหลอดเลือดหัวใจ. Nursing science journal of Thailand 2021;40(3):60-75

ปรเมษฐ์ พรหมพินิจ, วุธิพงศ์ ภักดีกุล, วรินท์มาศ เกษทองมา. ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ โรงพยาบาลส่องดาว จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2020;13(1):538-550

Delara Laghousi, Fereshteh Rezaie, Mahasti Alizadeh, Mohammad Asghari Jafarabadi. The eight-item Morisky medication adherence Scale: validation of its Persian version in diabetic adults. Caspian J Intern Med 2021; 12(1):77-83. doi: 10.22088/cjim. 12.1.77

ปิติพร สิริทิพากร, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. ความแตกฉานด้านสุขภาพกับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยสูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2019;37(4):186-195

วิภาวรรณ ขันธ์แก้ว, ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง, จิริยา อินทนา. ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2021;1(1):1-12

นุชราพร แซ่ตั้ง, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในอาการเจ็บคอ บาดแผลสะอาด ท้องร่วง ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก 2018;19:166-174

ดารณี ธนูแก้ว, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, อรวมน ศรียุกตศุทธ, ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย. ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2022;15(1):127-140

ศิณาพรรณ หอมรส. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการโรงพยาบาลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2563.

Hyo Yoon Choi, Im Jung Oh, Jung Ah Lee, Jisun Lim, Young Sik Kim, Tae-Hee Jeon, et al. Factors affecting adherence to antihypertensive Medication. Korean J Fam Med 2018;39:325-332. doi: https://doi.org/10.4082/kjfm.17.0041

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25