การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม, พยาธิใบไม้ตับ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบ้านโคก จำนวน 30 คน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ โดยใช้วงจร PAOR ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ Paired sample t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า หลังการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยมีการให้ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การมีทัศนคติที่ดีในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับทั้งตนเองและชุนชนโดยการเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนทั้งการเข้าเยี่ยมตามหมู่บ้านที่รับผิดชอบ การแนะนำการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโดยการไม่ทานปลาดิบ และการมีส่วนร่วมร่วมกับชุมชนในการเฝ้าระมัดระวังโรคพยาธิใบไม้ตับร่วมกันกับชุมชนตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม ซึ่งหลังทดลองพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบ้านโคก มีค่าคะแนนเฉลี่ย ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัว และการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. โครงการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเพื่อคนไทยสุขภาพดีในปี 2568 ตามยุทธศาสตร์ทศวรรษการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีปี 2559 – 2568; 2565.
กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2564. กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข2564.;2564.
ณรงค์ ขันตีแก้ว. โรคมะเร็งท่อน้ำดี. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550; 20(3),143-149.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพจังหวัดอุดรธานี,2565.
สถิติสุขภาพคนไทย. อัตราการตาย สถิติสุขภาพพื้นที่ปี2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566], เข้าถึงได้จาก https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/index.html.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.กรุงเทพ:วิทยพัฒน์, 2558.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์, 2560.
กิตติศักดิ์ ประครองใจ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วม ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน2564; 7(4):87-100.
ทวีเลิศ ชายงาม, ลิขิต เรืองจรัส และศุมาลิณ ดีจันทร์. ศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาจากการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป ตำบลเมืองใหม่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(2), 1-15.
บวรพิพัฒน์ กระแสเสน และจุฬาภรณ์ โสตะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2562; 12(2), 91-103.