การประเมินผลโครงการแต่งงานช่วยชาติ มีลูกช่วยชาติ สุขฉลาด เก่งดี ทุกชีวีปลอดภัย อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ตัวแบบ CIPPI MODEL
คำสำคัญ:
การประเมินผลโครงการ, CIPPI Model, โครงการแต่งงานช่วยชาติ มีลูกช่วยชาติ สุขฉลาด เก่งดี ทุกชีวีปลอดภัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลโครงการแต่งงานช่วยชาติ มีลูกช่วยชาติ สุขฉลาด เก่งดี ทุกชีวีปลอดภัย โดยมีการประเมินผลโครงการใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยป้อนเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) และด้านผลกระทบ (Impact) โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 70 คน จากกลุ่มตัวแทนคู่แต่งงานที่เข้าร่วมในโครงการ ในการวิจัยในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จำนวน 30 คู่ และกลุ่มเจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชนจำนวน 40 คน
ผลการศึกษาพบว่า การประเมินด้านบริบท พบว่า โครงการแต่งงานช่วยชาติ มีลูกช่วยชาติ
สุขฉลาด เก่งดี ทุกชีวีปลอดภัย เกิดขึ้นจากปัญหาอัตราเกิดต่ำ และมีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าในชุมชน นำไป
สู่นโยบายของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ โดยวัตถุประสงค์
มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะดำเนินงานให้บรรลุตัวชี้วัดด้านคุณภาพของการส่งเสริมสุขภาพงานอนามัยแม่และเด็ก สนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นการจัดบริการให้มีการเพิ่มประชากรและมีคุณภาพ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า เจ้าหน้าที่ในการดำเนินโครงการเพียงพอต่อการให้บริการ มีทีมสหวิชาชีพที่มีความรู้ มีกระบวนการทำงานชัดเจน อีกทั้งยังมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ด้านผลผลิต พบว่า ผลที่เกิดขึ้นกับคู่แต่งงานทำให้มีความพร้อมในการมีลูก และมีพัฒนาการสมวัยเป็นคนดีมีคุณธรรม ส่วนผลที่เกิดขึ้นต่อองค์กรทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถและบรรลุตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ด้านผลกระทบ พบว่าผลกระทบในทางบวกเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร พัฒนาศักยภาพการดูแลประชาชนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ส่วนผลกระทบทางลบนั้น แม้จะได้รับงบประมาณจากเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอลดลง แต่มีการได้รับสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติม ทำให้เกิดกฎ กติกาชุมชน มาตรการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ในธรรมนูญอำเภอ และธรรมนูญตำบลคนม่วงสามสิบ
References
กนิษฐรินทร์ ไทยแหลมทอง. คู่ขนานพิธีงานแต่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
(ทัศนศิลป์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2559.
กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. แนวทางการจัดบริการเตรียมความพรอม กอนสมรส
และกอนตั้งครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2563.
กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. การประเมินผลนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการ
เจริญเติบโตอย่างมี คุณภาพ. ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2564.
เฉลิมเกียรติ ตะดวงดี. การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม: มูลเหตุการณ์ตัดสินใจและการปรับตัวหลังแต่งงาน ของผู้ชายไทยที่แต่งงานกับผู้หญิงเวียดนาม. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยามหาบัณฑิต (วิชาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
ธารทิพย์ อนันชัย. การประเมินผลโครงการเด็กอุ่นรักจากครอบครัวโดยใช้ตัวแบบ CIPPI MODEL.
วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.
นิธิ บุรณจันทร์. การประเมินผลโครงการฝึกอบรมคนพิการ หลักสูตรเจ้าหน้าที่สำนักงาน เพื่อการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ. งานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 10,
ประกายรัตน์ ภัทรธิติ และกมลา แสงสีทอง. วงจรชีวิตครอบครัวและการสร้าง ครอบครัว: จิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช,2545
ปฐวี ประเทืองคุณ. การพัฒนาซิปป์โมเดลสำหรับประเมินผลโครงการก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2564.
ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. ศึกษาการประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการ
ขับเคลื่อน อำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 7.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย.), 2563.
พระภัทธชาพงษ์ สิริภทฺโท. คุณค่าทางจริยธรรมจากคติธรรมในคำสู่ขวัญแต่งงานชาวจังหวัด
ชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.
พระภาสน ถิรจิตฺโต. การศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับการแต่งงาน ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่ากับชาวพุทธล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
พนิดา หาญตระกูล. การประเมินโครงการมีความสุขสนุกกับ 4H (HEAD HEART HAND HEALTH) โดยใช้ตัวแบบซิป (CIPP MODEL) ของโรงเรียนเทศบาลวัดช่องลม (เปี่ยมวิทยาคม) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) วิทยาลัยครู
สุริยเทพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561.
รังสรรค์ กัณหา. การประเมินผลโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ของอําเภอนาด้วง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต(วิชาวิทยาการจัดการ)มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. ทุนกับการแต่งงาน. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา ปีที่ 3 ฉบับที่ 2, 2558.ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2556. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2556.
เสฐียร โกเศศ. แต่งงาน: ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง, 2532.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอม่วงสามสิบ. รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอม่วงสามสิบ ปี 2565. อุบลราชธานี : สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี, 2565.