วิธีการที่เหมาะสมในการลดความเข้มข้น ของสารฟอร์มาลีนที่ปนเปื้อนในอาหาร

ผู้แต่ง

  • วรางคณา วิเศษมณี ลี -
  • จิราวรรณ บัวชุม
  • กัญญาณัฐ คงเกาะทวด

คำสำคัญ:

ฟอร์มาลีน, น้ำส้มสายชู, ด่างทับทิม, ชุดทดสอบอย่างง่าย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการลดความเข้มข้นของสารฟอร์มาลีนที่ปนเปื้อนในอาหารโดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่ายในการทดสอบความเข้มข้นของฟอร์มาลีน โดยแบ่งขั้นตอนการทดลองเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาชนิดของสารเคมี 4 ชนิด ได้แก่ เกลือ น้ำส้มสายชู ผงฟู และ ด่างทับทิม การศึกษาอัตราส่วนของสารเคมีที่ใช้ในการลดความเข้มข้นของฟอร์มาลีน เป็น 5 ระดับ ได้แก่ 0.5:200 1.5:200 3:200 5:200 และ 15:200 และศึกษาระยะเวลาของสารเคมีที่ใช้ในการแช่อาหาร 4 ช่วง ได้แก่ 5 10 15 และ 30 นาที ซึ่งผลการทดลองพบว่าน้ำส้มสายชูอัตราส่วน 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 200 มิลลิลิตร แช่อาหารอย่างน้อย 10 นาที และสารละลายด่างทับทิมอัตราส่วน 0.5 กรัม ต่อน้ำ 200 มิลลิลิตร แช่อาหารอย่างน้อย 5 นาที เป็นวิธีการที่สามารถลดความเข้มข้นของฟอร์มาลีนที่ปนเปื้อนอาหารได้มากที่สุดจากการทดสอบด้วยชุดดทดสอบอย่างง่าย 

References

โรงพยาบาลเพชรเวช. ฟอร์มาลีน สารพิษร้ายภายใต้ความอร่อยจากเนื้อสัตว์ [ออนไลน์].https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Formalin-Deadly-Toxin-Under-Delicious-of-Meat (12 ธันวาคม 2565).

อุมา บริบูรณ์, ปุษยา แสงวิรุฬห์, พนาวัลย์ กลึงกลางดอน, ววนิดา ยุรญาติ, วรพงศ์ พรหมณา, ศิริชัย สัญญะ, บรรพต กลิ่นประทุม, วันวิสา สนิทเชื้อ, วนิดา ยุรญาติ, และวันวิสา สนิทเชื้อ. ฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหาร. [ออนไลน์]. http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/wp- content/uploads/2017/Publish/e-book/formaldehyde.pdf (9 กุมภาพันธ์ 2566).

สหภูมิ ศรีสุมะ. ฟอร์มาลิน สารปนเปื้อนในอาหาร ภัยเงียบที่ต้องระวัง [ออนไลน์]. Ramachannel. https://www.rama.mahidol.ac.th (9 กุมภาพันธ์ 2566).

ธินกร ไฝเพชร. การตรวจสารฟอร์มาลินในอาหารทะเลบริเวณพื้นที่ตลาด อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563; (2): 26-36.

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย . ภัยอาหารปนเปื้อนฟอร์มาลิน สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) [ออนไลน์]. https://www.thaihealth.or.th/ (30 กันยายน 2559).

สุรินทร์ อยู่ยง. ฟอร์มาลิน ฟอร์มัลดีไฮด. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [ออนไลน์].https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/322 (19 มิถุนายนม 2559).

Naomi Mirza. Food Though [ออนไลน์]. https://www.thedailystar.net/food-for-thought-25605 (May 27, 2014).

วีรชัย พุทธวงศ์. ผู้จัดการออนไลน์ แพทย์-นักวิชาการแนะวิธีลดเสี่ยง ฟอร์มาลินในอาหาร เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค [ออนไลน์]. https://mgronline.com/business/detail/9650000118059 (13 ธ.ค. 2565)

อารยา วงศ์ป้อม และ เจนจิรา ดวงสอนแสง. ฟอร์มาลินในอาหาร. กรมประชาสัมพันธ์ [ออนไลน์]. 564https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/8337 (25 มกราคม 2565).

Tansuwan.S. & Tansuwan. K. Spectrometric Analysis of Formalin in Seafood. Songkhla Thaksin University (2004). (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30