ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
โรคมือเท้าปาก, พฤติกรรมป้องกันโรค, ผู้กครอง, ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 245 คน สุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 91.00 ความรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 52.70 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก ได้แก่ เพศ (หญิง) อาชีพ (รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ/พนักงานบริษัท) ประสบการณ์การดูแลเด็กติดเชื้อโรคมือเท้าปาก การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการได้รับสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติป้องกันโรค
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนเพื่อส่งเสริมโปรแกรมการพัฒนาการเฝ้าระวังควบคุมโรคมือเท้าปาก โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก ซึ่งผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง และรับรู้ผลกระทบจากโรคมือเท้าปาก
References
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตราย และโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: หจก.แคนนา กราฟฟิค; 2563.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงานโรคเฝ้าระวัง 506 โรคมือเท้าปาก 2566. [เข้าถึงเมื่อ 19 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=71.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506. [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://healthcro.moph.go.th/epid/
Becker M. H., Clark, N. M. Theoretical model and strategies for improving adherence and diseases management. In A. S. Sally, B. S. Elenor, K. O. Judith, & L. M. Wendy (Eds.), The handbook of health behavior change (2nd ed.). New York: Springer; 1998
Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V. n4studies: Sample size and power calculation for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program – The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University; 2014
Wayne, W. D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health science (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.1995; Inc., 177-178.
Bloom, B.S. Taxonomy of Education. David McKay Company Inc., New York; 1975.
Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Premtice Hall; 1977.
กนกวรรณ นวนเกิด, ศันนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2563; 30(1): 107-19.
ณัฐวุฒิ อุดมสารี, ธนัช กนกเทศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตตำบลชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์. การประชุมวิชาการระดับชาติ; มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ 2560.
นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, วิภาดา ศรีเจริญ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.
PSRU Journal of Science and Technology. 2560; 2(3): 9-19.
จันทราวดี พรมโสภณ, สมคิด ปราบภัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครอง และเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารควบคุมโรค. 2560; 43(4): 356-67.