ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในประชากรเพศหญิง กลุ่มอายุ 30-70 ปี เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ละออ เชื้อฉุน -

คำสำคัญ:

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BSE), การสร้างเสริมพฤติกรรม, คัดกรอง, มะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

 การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BSE) ของประชากรเพศหญิง อายุ 30-70 ปี เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่าง 184 คน เก็บข้อมูล มกราคม - มีนาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้ บรรยาย ดูวิดิทัศน์ สาธิต ประชุมกลุ่ม กระตุ้นเตือนผ่านไลน์กลุ่ม และแสดงข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56 ปี อายุน้อยที่สุด 30 ปี อายุมากที่สุด 70 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 97.3 สถานภาพส่วนใหญ่มีคู่สมรส ร้อยละ 78.3 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 75 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง (BSE) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้อุปสรรคและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BSE) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ประสิทธิผลของโปรแกรมสามารถสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ ข้อเสนอแนะ คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้อุปสรรคของการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด และควรกระตุ้นเตือนเป็นประจำเพื่อให้เกิดการมีพฤติกรรมตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างเหมาะสม

References

World Health Organization (WHO). Cancer (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cancer. 2023.

World Health Organization (WHO). Breast cancer (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/breast-cancer. 2023.

ECIS—European Cancer Information System. (n.d.). Incidence and mortality estimates 2022 (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://ecis.jrc.ec.europa.eu

Centers for Disease Control. Breast Cancer (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://www.cdc.gov/cancer/breast/basic_info/screening.htm.2023.

Elmore, J. G., Armstrong, K., Lehman, C. D., & Fletcher, S. W. “Screening for breast cancerW. Jama, 293(10), 1245-1256. 2005.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ข้อเสนอแนะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.2565.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. มะเร็งเต้านมพบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/october-2021/breast-cancer-awareness-month.2565.

ไทยรัฐออนไลน์. สถิติไทยพบหญิงไทยพบเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://www.thairath.co.th/news/local/2654161.2566.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย เผยหญิงไทยป่วยมะเร็งเต้านมสูงสุด แนะควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/140366/.2566.

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต. (ม.ป.ป.). สถิติโรคมะเร็ง ประเทศไทย (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://ch9airport.com/th/

ฐานข้อมูล HDC. อัตราป่วยโรคมะเร็งเต้านมต่อประชากร (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2567. จาก. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php.2557.

ภรณี เหล่าอิทธิ และ นภา ปริญญานิติกูล. มะเร็งเต้านม : ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการตรวจคัดกรอง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2559.ก.ย. – ต.ค.; 60(5): 497 – 507

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.2551.

Best JW. Research in Education. 3 . 3 . 3 rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall Inc; 1977.

น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และนวรัตน์ โกมลวิภาต. ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.2561;7(1), 57-70.

วัชรีวงค์ หวังมั่น, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว และทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองร่วมกับ แอปพลิเคชันไลน์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสุรินทร์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.2564;11(1), 1-14.

ธณัศมณฑ์ ภาณุพรพงษ์. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรม การตรวจเต้านมด้วยตนเองในการคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาดานสุขภาพ นักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.2564;7(1), 140-157.

Shakery, M., Mehrabi, M., & Khademian, Z. The effect of a smartphone application on women’s performance and health beliefs about breast self-examination: a quasi-experimental study. BMC medical informatics and decision making.2021;21(1), 248.

Wondmu, K. S., Tessema, M. T., Degu, G., Mihiret, G. T., & Sinshaw, M. T. Effect of breast cancer education based on the health belief model on knowledge, health belief, and breast self-examination among female students of Debre Markos University, Northwest Ethiopia, in 2021. Frontiers in oncology.2022;12, 1034183.

Rosenstock, M. I., Strecher, V. J., & Becker, M. H. Social learning theory and health belief model. Health Education Quarterly.1988;15(2), 75-138.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30