ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-19 ปี เขตสุขภาพที่ 2
คำสำคัญ:
การเข้าถึงบริการ, บริการอนามัยการเจริญพันธุ์, วัยรุ่นอายุ 15-19 ปีบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-19 ปี เขตสุขภาพที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-19 ปี ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตสุขภาพที่ 2 จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการเข้าถึงบริการอนามัย การเจริญพันธุ์ แบบสอบถามความรู้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ แบบสอบสำรวจความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษา และทักษะชีวิต ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2566 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ การถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลการให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในโรงพยาบาล ร้อยละ 54.5 ส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลการให้บริการทางออนไลน์ ร้อยละ 62.8 โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในโรงพยาบาลเพียง ร้อยละ 30.7 บริการที่ใช้ตรงกับความต้องการของวัยรุ่นมากที่สุด คือ บริการให้คำปรึกษา ร้อยละ 88.1 ตรวจรักษาโรคทั่วไป ร้อยละ 35.8 และสุขภาพจิต ร้อยละ 16.4 สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ 15-16 ปี (Adjusted OR = 5.74, 95%CI = 2.54 - 12.98) P<0.001 ความรู้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในระดับน้อย (Adjusted OR = 1.93, 95% CI =1.09 - 3.78) P=0.045 ดังนั้นควรมีการพัฒนารูปแบบบริการให้ตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงข้อมูลความรู้ และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ได้ตามสิทธิภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ตั้งแต่อายุเริ่ม เข้าสู่วัยรุ่น
References
กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดำเนินงานของทีมนักจัดการสุขภาพวัยรุ่น (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด. นนทบุรี, 2559.
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานความก้าวหน้าของประเทศไทยในการยุติปัญหาเอดส์ ปี พ.ศ. 2561. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2567, จาก https://hivhub.ddc.moph.go.th/Download/Report/APR/2018/TH_GAM%202018.pdf.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2562 . [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ย. 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/doe/publishbooksub.php?5
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2565. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ย. 2566, จาก https://rh.anamai.moph.go.th
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2570 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท โอ-วิทย์ (ประเทศไทย) จำกัด. นนทบุรี, 2563.
ระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center (HDC). รายงานแม่วัยรุ่น ปี 2563-2566. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2566, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. รายการการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย. 2566, จากhttps://rh.anamai.moph.go.th/th/surveillance-report
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ฉบับ พ.ศ. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 2. ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. นครปฐม, 2564.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ระบบฐานข้อมูลและโปรแกรมการประเมินตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ฉบับ พ.ศ. 2563. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2566, จาก https://yfhs.anamai.moph.go.th/home
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. คู่มือการดูแลแม่วัยรุ่นแบบบูรณาการ. จัดพิมพ์โดย องค์การทุน เพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), 2564.
Penchansky, R. and William Thomas, J. The concept of access: Definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care,19(2), 127-140, 1981.
Aday, L.A. and Andersen, R. A framework for the study of access to medical care. Health services research, 9(3), 208, 1974.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการนิเทศการดำเนินงานเพศวิถีศึกษาสู่คุณภาพผู้เรียน. . [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2566, จากhttp://www.sakonarea15487.go.th/news_file/p39733561145.pdf
ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ, 2561.
กองสุขศึกษา. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสาหรับสตรีไทยวัยรุ่นอายุ 15 – 21 ปี. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. นนทบุรี, 2559.
Bloom, B. Taxonomy of Education Objective Handbook I.Cognittive Domain. David Mckay, New York, 1975.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2564). แบบสอบถามความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศของวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี. .[อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2566, จาก https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload
Best, J. W. Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prenticehall Inc, 1977.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัล. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566 (ไตรมาส 1). [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 256, จากhttps://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230913093840_23932.pdf.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ผลสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ และเวทีสัมมนา Child Grooming. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 11 ต.ค. 2565, จาก https://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/126760
อัครวัฒน์ ราตรีสวัสดิ์ และศุภฤกษ์ โพธิไพรัตนา. พฤติกรรมการสื่อสารและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้พฤติกรรม ทางเพศของเยาวชนยุคดิจิทัลในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารมวลชนคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 9(1), 26-51, 2564.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, วนิดา ศรีพรหมษา และดวงพร ถิ่นถา. การจัดบริการสุขภาพด้านอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่นตามการรับรู้ของวัยรุ่นในชนบท จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 17(2), 43-56, 2559.
อาริตา สมุห์นวล, พรรณี บรชรหัตถถกิจ และเฌอลินญ์ สิริเศรษฐ์ภพ. การจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนเพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 16(3), 44-58, 2566.
ปติมา หิริสัจจะ. การพัฒนารูปแบบกลไกดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 45(1), 27-38, 2565.
สุดคะนึง ณ ระนอง และนันทวัน หอมเกตุ. การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น โรงพยาบาลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. [อินเทอร์เน็ต] 2560. เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2566, จากhttps://riss.rmutsv.ac.th/upload/doc/201904/hKDFINXXlLrsuprCkuBE/hKDFINXXlLrsuprCkuBE.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. รายงานผลการวิจัยเพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษา 2559. ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล. [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2567, จากhttps://www.unicef.org/thailand/media/1106/file.pdf
กรมสุขภาพจิต. คู่มือการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นและเยาวชนในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด. นนทบุรี, 2559.