- การศึกษาเพื่อคัดกรองความเสี่ยงและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

-

ผู้แต่ง

  • เจษฎาภรณ์ จันต๊ะวงค์ -
  • กุลนิภา กิตติศักดิ์มนตรี
  • พรพิมล วัฒนาอำพร

คำสำคัญ:

การคัดกรองภาวะโภชนาการ, ภาวะทุพโภชนาการ, ผู้ป่วยเด็ก, ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดภาวะทุพโภชนาการและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 97 คน คัดกรองความเสี่ยงการเกิดภาวะทุพโภชนาการโดยใช้ แบบคัดกรอง STRONGkids เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยและผู้ปกครอง รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทุพโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน โดยใช้ Student t-test, Mann-Whitney U test และ Fisher’s exact

        ผลการวิจัย พบว่า จากการคัดกรองภาวะโภชนาการ ร้อยละ 97 อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 3 อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ปัจจัยด้านผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และประวัติน้ำหนักที่ลดลง ปัจจัยจากผู้ป่วยเด็ก พบว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทุพโภชนาการคือกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งชนิดก้อน (solid tumors) และจะได้รับการเสริมวิตามินและแร่ธาตุมากกว่าในกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยจากผู้ปกครอง พบว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ปกครองจะมีอายุน้อยกว่า 20 ปีในอัตราส่วนที่สูงกว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่เป็นผู้มีความเสี่ยงปานกลางต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ สำหรับผู้ป่วยคัดกรองแล้วพบว่ามีความเสี่ยงสูงส่วนใหญ่จะมีภาวะทุพโภชนการไปแล้ว โดยปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะทุพโภชนาการได้แก่ ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด มะเร็งชนิดก้อน และผู้ปกครองอายุน้อย

       

References

World Health Organization. World Source: Globocan [Internet].2021 [cited 2022 Dec 9]; https://www.who.int/health-topics/cancer #tab=tab_1

World Health Organization. Thailand Source: Globocan [Internet].2021 [cited 2022 Dec 9]; https://www.who.int/health-topics/cancer #tab=tab_1

Wiangnon S, Veerakul G, Nuchprayoon I, Seksarn P, Hongeng S, Krutvecho T, et al. Childhood cancer incidence and survival 2003-2005, Thailand: study from the Thai Pediatric Oncology Group. Asian Pac J Cancer Prev. 2011;12:2215-20.

Pietsch JB, Ford C. Children with cancer: measurements of nutritional status at diagnosis. Nutr Clin Pract. 2000;15:185-8.

Sara A, Puncher P, Barr RD. Children Cancer and Nutrition- A Dynamic Triangle. America Cancer Society. 2004;100:677-87.

Smith DE, Stevens MC, Booth IW. Mulnutrition at diagnosis of malignancy in childhood: common but mosly missed. Eur J Pediatr. 1991;150:318-22.

Triarico S, Rinninella E, Cintoni M, Capozza MA, Mastrangelo S, Mele MC, et al. Impact of malnutrition on survival and infections among pediatric patients with cancer: a retrospective study. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2019;23:1165-75.

Saengsipanthkul S. Hospital-acquired malnutrition in paediatric patients: a multicentretrial focusing on prevalence, risk factors, and impact on clinical outcomes. Eur J Pediatr. 2021;180(6):1761-67.

Joosten KF, Hulst JM. Nutrition screening tools for hospitalized children: Methodological consideration. Clin Nutr. 2014;33:1-5.

วีรภัทรา เอี่ยมวัฒน์, สุภาพรรณ ตันตราชีวธร. การคัดกรองทางโภชนาการสสำหรับผู้ป่วยเด็กใน โรงพยาบาลโดยใช้STRONGkids เปรียบเทียบกับ STAMP. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2018;62(6):431-41.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี, 2543.

นฤมล เด่นทรัพย์สุนทร. แบบคัดกรองภาวะโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเด็ก. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563.

Gomez F. Mortality in second and third degree malnutrition. J Trop Pediatr.1956;78(10):1275-80.

Waterlow JC. Classification and definition of protein-calorie malnutrition. Br Med J. 1972;3:566-69.

ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. มาตรฐานน้ำหนักส่วนสูงเด็ก 0-18 ปี กรมอนามัย (DOH Growth). สำนักโภชนการ กรมอนามัย, 2564. https://doh.hpc.go.th/student/topicDisplay.php?id=73

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, และวิชัย เอกพลากร. ภาวะโภชนาการเด็กไทย. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ฉบับสุขภาพเด็ก พ.ศ. 2557 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2557;1(1):121-46.

Tah PC, Shanita SN, Poh BK. Nutritional status among pediatric cancer patients: A comparison between hematological malignancies and solid tumors. J Spec Pediatr Nurs. 2012;17:301–11.

Mokwena K, Kachabe J. Profile of mothers whose children are treated for malnutrition at a rural district hospital in the North West province, South Africa. South Afr J Clin Nutr. 2022;35(1):17-22. DOI:10.1080/16070658.2021.1921899.

ศักรินทร์ สุวรรณเวหา, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, และวิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. JBCNM. 2562;25(2):8-24.

Khejonchit P, Chutiman N, Kumphon B. Factor Associated with Under- Nutrition of Preschool Children in Kuchinarai District, Kalasin Province. KKU Journal for Public Health Research. 2013;6(3):168-175.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25