ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยตนเอง ในผู้หญิงวัยผู้ใหญ่บ้านเขียบ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา แสงคำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศิรภัสร์ โคตรสีวงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รุจิรา โนนสะอาด คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0002-5590-3763

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของหญิงไทยอายุ 20-59 ปี บ้านเขียบ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยประชากรเพศหญิงอายุ 20-59 ปี จำนวน 148 คนที่เข้าร่วมวิจัย จะถูกเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทั้งหมดจะถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 31.1 ของกลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 50 – 59 ปี มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับมากที่ร้อยละ 62.2 และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลางที่ร้อยละ 63.5 เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้กับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ในขณะที่ความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 มิติ พบมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ระดับ p < 0.01 จากการศึกษาพบว่าการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้ประชาชนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การตรวจพบโรคหรือการเกิดโรคในระยะเริ่มต้น และเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาโรคได้อย่างรวดเร็ว

References

Organization WH. Global breast cancer initiative implementation framework: assessing, strengthening and scaling up of services for the early detection and management of breast cancer: executive summary. Geneva: World Health Organization; 2023. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/367911

Virani S, Bilheem S, Chansaard W, Chitapanarux I, Daoprasert K, Khuanchana S, et al. National and subnational population-based incidence of cancer in Thailand: Assessing cancers with the highest burdens. Cancers. 2017;9(8):108. doi:10.3390/cancers9080108

Health Data Center. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ [Internet]. [cited 2023 Nov 11]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

ชลิยา วามะลุน, โสภิต ทับทิมหิน. การพัฒนารูปแบบการตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการพยาบาลในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี [Internet]. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2021;32(1):166-83.

เพชรรัตน์ วิชา. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองในอาสาสมัครผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ [Internet]. [cited 2023 Nov 13]. Available from: https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2556/nuco40756pw_ch2.pdf

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. Health Literacy / Health Behavior [Internet]. [cited 2023 Nov 4]. Available from: http://www.hed.go.th/linkHed/321

ฐาพัชร์ลดา เกียรติเลิศเดชา, อารยา เชียงของ, ปราลีณา ทองศรี, อนงค์นุช สารจันทร์. ความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก: กรณีศึกษาการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร [Internet]. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2021;8(1):211-21.

สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ [Internet]. [cited 2023 Nov 20]. Available from: http://www.hed.go.th/linkHed/403

มูลนิธิถันยรักษ์ ฯ พระราชประสงค์ของสมเด็จย่า, กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย, สภากาชาดไทย, สปสช., และภาคเอกชน. สมุดบันทึกการตรวจเต้านมตนเอง [Internet]. [cited 2023 Nov 20]. Available from: https://doh.hpc.go.th/data/bse/BSESelfRecord.pdf

นิรุวรรณ เทิร์นโบล์. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้านสาธารณสุขและการเขียนรายงานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2021.

สายสุทธี ร่มเย็น. การสำรวจพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทยอายุ 30-70 ปี ในเขตสุขภาพที่ 1. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2558; 5(2): 65-77.

บังอร สุภาเกตุ, จงมณี สุริยะ. การประเมินผลพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทยภายใต้โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม. รายงานผลการวิจัย. นนทบุรี: กลุ่มอนามัยวัยทำงาน สำนักส่งเสริมสุขภาพ; 2560.)

ถนอมศรี อินทนนท์, รุจิรา อ่ำพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 – 70 ปี ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ [Internet]. [cited 2023 Nov 14]. Available from:https://he03.tcithaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1266

วิภารัตน์ ชุมหล่อ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ของสตรี อายุ 30-70 ปี ในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช [Internet]. [cited 2023 Nov 13]. Available from: https://hpc11.anamai.

ทิพวรรณ สมควร, สินีนาฎ ชาวตระการ, วรางคณา นาคเสน. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในจังหวัดลำปาง [Internet]. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2022;18(1):55-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30