รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อลงกต ตังคะวานิช
  • สุภาพร แปยอ

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งปฏิกูล, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อผลการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อผลการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน จากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Yamane 1973: 727) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยเชิงเส้น (Multiple Linear Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยที่มีต่อผลการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี คือ ความรู้ การรับรู้ การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งปฏิกูล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.390

ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยการนำปัจจัยด้านความรู้ การรับรู้ การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งปฏิกูล มาจัดทำรูปแบบการวิจัย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ผู้นำชุมชน และประชาชนตัวแทนชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 50 คน ดำเนินการประชุมระดมสมองปรับปรุงรูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ครัวเรือน ๆ ละ 1 คน โดยจัดการทดลองตามโปรแกรมจำนวน 12 สัปดาห์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในด้านความรู้ เท่ากับ 9.06 คะแนน (S.D.= 0.86) ด้านการรับรู้เท่ากับ 43.53 คะแนน (S.D.= 3.55) ด้านการมีส่วนร่วมเท่ากับ 39.33 คะแนน (S.D.= 5.32) และพฤติกรรมในการจัดการสิ่งปฏิกูลเท่ากับ 45.43 คะแนน (S.D.= 6.04) ซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คำห่วง ใหม่วงษ์. “รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยใน เขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี,” วารสารช่อพะยอม. 29,2 (มิถุนายน - ตุลาคม 2561): 289 – 298.

ชัยยันต์ ชัยโม. แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี วิทยานิพนธ์รัฐ

ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น)มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2560.

ชินวัฒน์ ชมประเสริฐ. “รูปแบบการจัดการขยะติดเชื้อของผู้ป่วยในชุมชนของ จังหวัดพิษณุโลก,”

วารสารสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1,1 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562):

– 65.

ไชยะสิด วิลาพัด. รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2561.

ชำนาญ ม่วงแดง. การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษาการป้องกันผลกระทบจากการกำจัดสิ่งปฏิกูลชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 42,3 (กรกฎาคม – กันยายน 2562) : 114 – 128.

ณฐภพ ตุ่นวิชัย. ศึกษารูปแบบการจัดการขยะของชุมชนแบบมีส่วนร่วม บ้านท่ากระดาษริมเหมืองตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

(การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน) มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2560.

ดาริน รังสิวรารักษ์. ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง : ศึกษากรณีการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย.วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (วิชานิติศาสตร์) มหาวิทยาลัย

ธุรกิจบัณฑิตย์, 2564.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี : วิทยาการพิมพ์, 2555.

รังสรรค์ สิงหเลิศ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุรีย์ จันทรโมลี. การมีส่วนร่วมของตัวแทนชุมชนเขตเมือง ในการเผยแพร่ความรู้เรื่องเอดส์. ม.ป.ท. : ม.ป.พ, 2541.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2553.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. สรุปตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขรอบที่ 1

ลดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2567. อุบลราชธานี : กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม, 2567.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอม่วงสามสิบ. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566. อุบลราชธานี : กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม, 2566.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 . รายงานประจำปี 2566 : อุบลราชธานี,2566 : 61.

ยงยุทธ สุพลและคณะ. รูปแบบในการขับเคลื่อนการก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบทรายกรอง ด้วยโปรแกรมพี่เลี้ยงขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารศูนย์

อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. 10,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565 ): 48-64

อุไรวรรณ พรายมี. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลโดยใช้

ปัญหาและโจทย์เป็นฐานการเรียนรู้.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สิ่งแวดล้อมศึกษา)

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2564.

Gibson.(1991). “A concept analysis of empowerment,” Journal of Advanced Nursing.

Taro Yamane.(1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and Row Publication

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30