ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคปอดอักเสบในกลุ่มผู้สูงอายุ บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ปัจจัยเสี่ยง, ปอดอักเสบ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบในกลุ่มผู้สูงอายุบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective study) เก็บรวมรวบด้วยแบบสอบถามจากผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จากกลุ่มตัวอย่าง 138 คน ในจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ 39 คน และไม่เคยป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ 99 คน กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเข้าโดยการสุ่มแบบง่าย ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกนําเสนอค่า odds ratio (OR) และค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยมีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 มีอายุระหว่าง 65 - 69 ปี ร้อยละ 48.7 และกลุ่มควบคุมพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.6 มีอายุระหว่าง 60 - 64 ปี ร้อยละ 43.4 และพบว่าปัจจัยที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหรือโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ปัจจัยด้านการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา (p-value < 0.05) โดยพบว่าผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่และดื่มสุรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคปอดอักเสบมากกว่าผู้ที่ไม่เคยป่วยด้วยโรคปอดอักเสบถึง 2.969 และ 2.462 เท่าตามลำดับ จากผลการศึกษา การรณรงค์สร้างความรู้ในเรื่องของโทษของการสูบบุหรี่และดื่มสุราต่อการเกิดโรคปอดอังเสบเป็นสิ่งที่ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพในพื้นที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อลดการเกิดโรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุต่อไป
References
อุ่นเรือน กลิ่นขจร และ สุพรรษา วรมาลี. (2563). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอักเสบ.
World Health Organization. (2020). Pneumonia. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/IiNYZ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (12 พฤศจิกายน 2565). 12 พฤศจิกายน "วันปอดอักเสบโลก" โรคร้ายที่คร่าชีวิตเด็กมากกว่า 2 ล้านทั่วโลก. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/xUQtl
ชายชาติ สุภีแดนและคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายในผู้สูงอายุที่ติดเชื้อปอดอักเสบที่มารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
สถิติสุขภาพคนไทยThaiHealthStat. (2565). เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/ru9aT
กรมควบคุมโรค. (2562). โรคปอดบวม, ปอดอักเสบ (Pneumonia). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=21
Kelsey J.L., Whittemore A.S., Evans A.S., Thompson W.D. (1996). Methods in
Observational Epidemiology. Oxford University Press.
สายวลุน จันทคาม และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบรุนแรงในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. โรงพยาบาลมหาสารคาม. 19(3): 182.
รัศมน กัลยาศิริ. (21 ธันวาคม 2563). เหล้า-สูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงในโรคติดเชื้อ ทำลายปอด ระบบทางเดินหายใจ. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/XJNbO
พลอย วงษ์วิไล. (9 มกราคม 2564). โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/lA1xJ
ศิริชัย แสงงามมงคล. (2566). ผู้สูงอายุเสี่ยงปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/1V05A