การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่ม 608 ในเขตอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธัญญามาศ จารีต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริพร คำสะอาด

คำสำคัญ:

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน, ไวรัสโคโรนา 2019, กลุ่ม 608

บทคัดย่อ

กลุ่ม 608 มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงมีความจำเป็น จึงสนใจศึกษาการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่ม 608 ในเขตอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ตัวอย่าง 690 คน สุ่มโดยวิธีแบ่งกลุ่มสองขั้นตอน ตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองเพื่อประเมินคะแนนการปฏิบัติตัวจากคำถามทั้งหมด 13 ข้อ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประมาณค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประมาณค่าที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 

ผลการศึกษา พบ ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ของตัวอย่างกลุ่ม  608 เท่ากับ 33.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.8) จากคะแนนเต็ม 39 คะแนน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 33.2 ถึง 33.7 คะแนน

กลุ่ม 608 ในเขตอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น มีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตาม ควรประเมินการปฏิบัติตัวของกลุ่ม 608 เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

References

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

World Health Organization. How is it transmitted? [Internet]. Geneva: World Health Organization ; 2021 [cited 2023 Jan 31]. Available from: https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/coronavirus-disease-covid-19-how-is-it-transmitted

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 31 ม.ค. 2566 ]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/10020200514102630.PDF

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/15720220926033413.PDF

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศรายสัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่ม 608 คือกลุ่มคนที่ต้องได้รับการวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากที่สุด [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/anamai-toons/covid-vaccine-4

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค แจ้งสถานการณ์โควิดและเผยข้อมูลผู้เสียชีวิต พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 608 ที่ไม่ได้รับวัคซีน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=40189&deptcode=brc

กระทรวงสาธารณสุข. คําแนะนําสําหรับประชาชนเพื่อการป้องกันโควิด 19 เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_220665.pdf

อนิสรา วงศ์จันทร์, นิธิภรณ์ ฮมแสน, ปิยะธิดา เยยโพธิ์, กฤติยาณี ศรียาโง, สุฬดี กิตติวรเวช. ระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของชมรมผู้สูงอายุแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 13(2): 71-94; กรกฎาคม–ธันวาคม, 2565.

ประภัสสร เรืองฤๅหาร, วรินท์มาศ เกษทองมา, วุธิพงศ์ ภักดีกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 15(2): 254-268; พฤษภาคม-สิงหาคม, 2565.

Yodmai K, Pechrapa K, Kittipichai W, Charupoonpol P, Suksatan W. Factors associated with good COVID-19 preventive behaviors among older adults in urban communities in Thailand. J Prim Care Community Health. 2021 Jan-Dec; 12:21501327211036251. doi: 10.1177/21501327211036251.

กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) สำหรับการจัดงานแสดงคอนเสิร์ต ดนตรี งานอีเวนต์ งานเทศกาลและมหกรรมต่างๆ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.businesseventsthailand.com/uploads/press_media/file/220610-file-A5O2Pk21k.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานสถิติแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น, 2564.

โรงพยาบาลพล. รายงานสถานการณ์ COVID-19 อำเภอพล [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: โรงพยาบาลพล; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/PhonHospitalPhon

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. Health Data Center : HDC [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 31 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

Alimohamadi Y, Sepandi M. Considering the design effect in cluster sampling. J Cardiovasc Thorac Res 2019;11(1):78. doi: 10.15171/jcvtr.2019.14.

Ademas A, Adane M, Keleb A, Berihun G, Lingerew M, Sisay T, et al. COVID-19 prevention practices and associated factors among diabetes and HIV/AIDS clients in South-Wollo zone, Ethiopia: a health facility-based cross-sectional study. J Multidiscip Healthc. 2021 Aug 4;14:2079-2086. doi: 10.2147/JMDH.S325207.

พนม คลี่ฉายา. การเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเอง ให้ปลอดภัยจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง [อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/files/original/6146d0dd1385e905faad6822bcdf5773.pdf

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฎกาจร, ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 49(1): 200-212; มกราคม-มีนาคม, 2565.

สราลี สนธิ์จันทร์, วิรัตน์ สนธิ์จันทร์. การเปิดรับสื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงของผู้สูงอายุในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม. 16(1): 64-77; มกราคม-มีนาคม, 2565.

Chen Y, Zhou R, Chen B, Chen H, Li Y, Chen Z, et al. Knowledge, perceived beliefs, and preventive behaviors related to COVID-19 among Chinese older adults: cross-sectional web-based survey. J Med Internet Res 2020 Dec 31;22(12):e23729. doi: 10.2196/23729.

กรมอนามัย. กรมอนามัย ย้ำสวมหน้ากากให้ถูกวิธี ถูกประเภท ลดการติดและแพร่เชื้อของโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/171164/

กันทนา ใจสุวรรณ. วิถีชีวิตคนชนบทไทยยุค 4.0. วารสารปัญญาปณิธาน. 5(1): 29-41; มกราคมขมิถุนายน, 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25