การรับรู้และทัศนคติของประชาชนต่อการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรัง ในกลุ่มประชาชนไทยที่มีอายุมากกว่า 15 ปีในจังหวัดปัตตานี, ชลบุรี, พัทลุง, ขอนแก่น, และอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ณภัทร รักไทย
  • ฐาปกาญจน์ ทองเกื้อ
  • พิชญาวดี โภคานิตย์
  • ธนกร งามสกุลพิพัฒน์
  • ระพีพัชร สายขุน
  • ศุจิมน มังคลรังษี

คำสำคัญ:

การจัดการโรคเรื้อรัง, สมาร์ทวอทช์, แอปพลิเคชันสุขภาพ, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในประเทศไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 74.00 ต่อปี และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และปัจจัยทำนายทัศนคติในการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรัง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 จากประชากรที่อาศัยอยู่ในปัตตานี, ภูเก็ต, พัทลุง, ขอนแก่น, และนครศรีอยุธยา ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ โดยใช้สูตร Cochran formula ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 356 คน และเก็บข้อมูลแบบสุ่มด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 685 คน ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.46 อายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 25.55 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 47.30 มีรายได้ครอบครัวต่อเดือนระหว่าง 40,001-80,000 บาท ร้อยละ 31.39 ร้อยละ 72.27 รายงานว่าไม่มีโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ออกกำลังกายเป็นบางครั้ง ร้อยละ 56.93 ไม่ได้ใช้สมาร์ทวอทช์ ร้อยละ 56.20 และไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันสุขภาพ ร้อยละ 56.64 ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรังอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 53.72 และทัศนคติต่อการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพในการจัดการโรคเรื้อรังอยู่ระดับดี ร้อยละ 81.31 ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพ รวมถึงอายุ เป็นปัจจัยทำนายทัศนคติที่สำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta=0.413, p-value <0.01, ทำนายได้ ร้อยละ 41.3 และ Beta=0.194, p-value <0.01, ทำนายได้ ร้อยละ 19.4)

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมทางสุขภาพและการออกกำลังกายส่งผลต่อทัศนคติในการใช้เทคโนโลยีสุขภาพ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมาร์ทวอทช์และแอปพลิเคชันสุขภาพมีความสนใจสูงในเทคโนโลยีนี้ ขณะที่ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำมีความสนใจน้อยกว่า

References

United Nations Development Programme (UNDP) & World Health Organization (WHO). (2021). Investment case for noncommunicable disease prevention and control in Thailand. 1-94. สืบค้นจาก:https://www.undp.org/sites/g/files/zskgke326/files/migration/th/UNDP_TH_WHO_THAILAND _NCD-IC-REPORT_v06_231121.pdf

สุธิดา แก้วทา, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า และอรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 1-108. สืบค้นจาก :https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

Budreviciute, A., Samar, D., Dana, K, S., Kamil, O., Peter, S, G., Gediminas, P., Agne, K., Samir, K. and Rimantas, K. (2020). Management and Prevention Strategies for Non-communicable Diseases (NCDs) and Their Risk Factors. Front Public Health.; 8: 574111. doi: 10.3389/fpubh.2020.574111.

Mattison, G., Oliver, J, C., Doug, F., Chelsea, D., Daniel, S., David, R. and Clair, S. (2023) A step in the right direction: the potential role of smartwatches in supporting chronic disease prevention in health care. Med J Aust; 218 (9): 384-388. doi: 10.5694/mja2.51920

Masoumian, M., Hosseini, S., Toktam, M., Hosseini, Karim, Q.,4 Shahriar, H. and Seyedeh, S, S. (2023) Smartwatches in healthcare medicine: assistance and monitoring; a scoping review. BMC Med Inform Decis Mak.; 23: 248.

Mattison, G., Oliver, C., Doug, F., Chelsea, D., Daniel, S., Juha, T. and Clair, S. (2022) The Influence of Wearables on Health Care Outcomes in Chronic Disease: Systematic Review. J Med Internet Res; 24(7): e36690.

Cochran Chanuan Uakarn, Kajohnsak Chaokromthong and Nittaya Sintao. Sample Size Estimation using Yamane and Cochran and Krejcie and Morgan and Green Formulas and Cohen Statistical Power Analysis by G*Power and Comparisons. APHEIT INTERNATIONAL JOURNAL. 2021; 10(2): 76-88

Bloom, Benjamin S., et al. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Chankong, N., Sani, B., Nuntachai, T., Chairat, M. and Anantasak, W. (2023) Factors Affecting the Adoption of Smartwatch for Tracking Health. nternational Journal of Membrane Science and Technology ;10(1), pp 1715-1729.

Hyoung-Y, C., Mark, K. and Aaron M. B. (2022). Intention to use smartwatch health applications: A regulatory fit and locus of control perspective. Information & Management ;59(6), 103687

Mobashir, M., Hasan, S., Karnika S., Natasha, J., Perisa, A., Geetika, Si., Lu, D., Sunshine, H., Jennifer, M. & Jessilyn, P. D. (2024). Assessment of ownership of smart devices and the acceptability of digital health data sharing. npj Digital Medicine: 7(44).

Al-Maroof, S, R., Khadija, A., Ahmad, Q, A., Ahmad, A. and Said, S. (2021). User Acceptance of Smart Watch for Medical Purposes: An Empirical Study. Future Internet: 13(5), 127; https://doi.org/10.3390/fi13050127

Matthew, T., Orcid, I., Tonatiuh, M., Manoj, B., Anis, D., Matin, K,. Mary, E., Eric, W., Roger B, F., Parisa, R., (2019). Perception of Older Adults Toward Smartwatch Technology for Assessing Pain and Related Patient-Reported Outcomes: Pilot Study. Published on; 7(3).

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ; ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้สมาร์ทวอทช์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [เข้าถึงเมื่อ 21 มิ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก : http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/4412

Manini, T, M., Tonatiuh., Manoj, B., Anis, D., Matin, K., Mary, E, Y., Eric, W., Roger, B, F. and Parisa, R. (2019). Perception of Older Adults Toward Smartwatch Technology for Assessing Pain and Related Patient-Reported Outcomes: Pilot Study. Published on; 7(3)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25