ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี จังหวัดหนึ่งในภาคเหนือ
คำสำคัญ:
การมีเพศสัมพันธ์, เยาวชนหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี, มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ในจังหวัดหนึ่งของภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือหญิงอายุระหว่าง 13-19ปี จำนวน 273 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และสถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 22.30และมีประวัติการตั้งครรภ์ ร้อยละ 1.80 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) คือระดับการศึกษาสูงสุด ได้แก่มัธยมศึกษาปีที่ 3 (OR =23.91 95%Cl=2.77-206.49) มัธยมศึกษาปีที่ 4 (OR =13.78 95%Cl=1.39-136.01) มัธยมศึกษาปีที่5 (OR =16.03 95%Cl=1.83-139.87) มัธยมศึกษาปีที่ 6 (OR =13.78 95%Cl=1.43-123.94) ค่านิยมทางเพศทางเพศของเยาวชนหญิงระดับปานกลาง(OR =0.21 95%Cl=0.06-0.72) ระดับต่ำ (OR =0.19 95%Cl=0.04-0.75) ความอยากลองต่อการมีเพศสัมพันธ์ระดับปานกลาง(OR =0.43 95%Cl=0.14-1.31) ระดับต่ำ(OR =0.07 95%Cl=0.02-0.27) และการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ สารเสพติดและสภาพแวดล้อมที่ปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศระดับปานกลาง (OR =0.30 95%Cl=0.10-0.95)
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อออกแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หรือจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังและกำหนดนโยบายการป้องกันพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่จะทำให้เกิดปัญหาการท้องไม่พร้อมและปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อไป
References
ACT for Youth Center for Community Action (2024). Youth Statistics: Sexual Health. Retrieved August5,2024, From.https://actforyouth.net/adolescence/demographics/
sexual-health.cfm
กลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนวัยรุ่น สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ.2564.นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข,2565
นพวรรณ ศรีวงค์พานิช. คู่มือแนวทางการดูแลแม่วัยรุ่น. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557
World Health Organization. (2018). World Hwalth Statistics 2018. Retrieved August 5, 2024, From https://who.int/docs/default-source/gho-documents/world-health-statistic-reports/6-june-18108-world-health-statistics-2018.pdf.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทยปีพ.ศ.2564.นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข,2564
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานประจำปี 2565 สำนักอนามัยการเจริญพันธ์.นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข,2565
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานเฝ้าระวังการแท้ง ประเทศไทย พ.ศ.2563.นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข,2563
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย.การเฝ้าระวังอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566].เข้าถึงได้จาก : https://cri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=782a6749bd5608ecaf7ab67f0e3f3abd
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. การเฝ้าระวังอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566].เข้าถึงได้จาก:https://cri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=eefd31ab993640a98206360a843fbe37
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. ร้อยละของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 จังหวัด เชียงราย.[เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566].เข้าถึงได้จาก : https://cri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=4f7d8042fb0a064b25f29a48f6ccd23f
นรลักขณ์ เอื้อกิจและลัดดาวัลย์ เพ็ญศร. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODELในการสร้างเสริมสุขภาพ.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ;12(1): 38-48:มกราคม-มิถุนายน,2562
ศรีสถิตนรากูร บุญใจ. ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสําเร็จ. กรุงเทพมหานคร:ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.2550
ปัญญ์กริน หอยรัตน์และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล ; 36(1): 149-163;มกราคม - เมษายน,2563
Best, John W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice Hall, Ice.
Best, J. (1977). Research in education. New jersey: Prentice Hall.
เทพไทย ไชติชัย และคณะ.พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ;8(1) :278-292;มกราคม-เมษายน,2564
วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์.การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ;13(2): 154-168 ;กรกฎาคม – ธันวาคม,2564
อินทรียา อัญพัชร์และดวงเดือน ศาสตรภัทร.ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย,วารสารการวัดผลการศึกษา;37(101): 33-43;มกราคม-มิถุนายน.2563
ปัทมาภรณ์ สุขสมโสดและปฐมพงษ์ พุ่มพฤกษ์. ผลกระทบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัยรุ่นในพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา;13(1): 119-137;มกราคม-มิถุนายน,2564