การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วม, การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, ภาคีเครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาคีเครือข่ายทุกอำเภอ จำนวน 401 คน พื้นที่ทดลองตำบลวังทรายพูน จำนวน 102 คน และตำบลทับคล้อ จำนวน 81 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอนในการสร้างและพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยกระบวนการกลุ่ม (Focus Group)กับภาคีเครือข่าย จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Stepwise Multiple Regression ,Paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ภาคีเครือข่ายมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทัศนคติ แรงจูงใจ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลและสามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วม ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการรู้เท่าทันสื่อ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ แรงจูงใจ เพศ ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมและการได้รับการสนับ สนุนทางสังคม (R2 adj = 0.512) รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น คือ 1) สร้างกลุ่มไลน์ภาคีเครือข่าย 2) พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) สร้างแรงจูงใจ 4) สร้างและพัฒนาทีมที่ปรึกษา 5)ประกาศเกียรติคุณภาคีเครือข่าย6) ประสานและบูรณาการกิจกรรม งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก 7) สื่อสารประชาสัมพันธ์ประชาชนอย่างต่อเนื่อง 8) ประกาศเป็นนโยบายระดับตำบลและ 9)จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อทำการทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนนปัจจัยต่างๆ และระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนารูปแบบสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)
ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงานหรือโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ แรงจูงใจและแรงสนับสนุนทางสังคม ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนและนำรูปแบบไปใช้ในทุกพื้นที่
References
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ.นนทบุรี :สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ; 2565.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ก้าวย่างของประเทศไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างสมบูรณ์แบบ. นนทบุรี : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ; 2564.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุปี 2566. พิจิตร : ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ; 2566
Pender, N. J. Health promotion in Nursing Practice. 4th(ed). New York : Appleton & Lange Connecticut ; 2006.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร.สรุปผลการดำเนินงานผู้สูงอายุปี 2565.เอกสารอัดสำเนา ; 2566.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. Participation place in rural development: Seeking clarity through specificity, world development. New York: Cornell University ;1981.
Sullivan, K. M. Sample Size for a Proportion or Descriptive Study. Retrieved
August 9, 2023, from https://www.openepi.com/SampleSize/SSPropor.htm ; 2019
Ware, J. E. Jr. SF-36 health survey update. Spine, 25(24), 3130–3139. https://doi.org/10.1097/00007632-200012150-00008 ; 2000.
Cronbach, L. J. Essentials of psychology and education. New York, NY:
McGraw-Hill ;1984.
สุดปรีชา เตียติวิริยะกุล.การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. รายงานวิจัย ; 2559.
สุธาทิพย์ จันทรักษ์. การมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ.วารสารวิขาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2560 ;13(2) : 67-74.
อนุตตรา อนุเรือง. การรับรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2560.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ; 2561.
จีราวรรณ นามพันธ์,นฤมล เอื้อมณีกูลและสุรินธร กลัมพากร.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563 ; 28(3) : 41-52.
ชนายุส คำโสม, สุนีย์ ละกำปั่น และเพลินพิศ บุณยมาลิก. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2562.
ศิวพร ชุ่มเย็น.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการทำงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดอุตรดิตถ์.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร ; 2565.
พิมพ์บุญญา สมุทรรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2563 ; 6(2) : 199-210.
บัวพา บัวระภา. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน ตำบลสร้างก่ออำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี.วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2559 ;17(2) : 57-70.
สุปราณี บุญมี, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยวและ สุพิตรา เศลวัตนะกุล.การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโนนเปือย อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2561; 5(4) : 38-49