การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน

ผู้แต่ง

  • พิทภรณ์ พลโคตร -

คำสำคัญ:

การจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง

บทคัดย่อ

กรมสุขภาพจิตได้มีนโยบาย ในการพัฒนาระบบดูแลเฝ้าระวังติดตามผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแลเพื่อป้องกันการกำเริบซ้ำ จากความร่วมมือทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวังการค้นหากลุ่มเสี่ยง การวางระบบการดูแลผู้ป่วยในชุมชน รวมถึงการบูรณาการความเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่าย โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และจากประสบการณ์ของผู้วิจัยพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงมักอยู่ในภาวะที่ถูกกดดันได้รับการรบกวนทางอารมณ์ ทำให้รู้สึกโกรธและแสดงพฤติกรรมรุนแรงออกมา ทั้งนี้ความชุกของการก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชทั่วโลก พบได้ร้อยละ17หรือประมาณการเกือบ1ใน5ของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวช2 และร้อยละ12–20 มีประวัติการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง3 โดยผู้ป่วยจิตเวชที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลมีความเสี่ยงสูงต่อการกระทำรุนแรงกับผู้ชายมากเป็น 2–6เท่าและเสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิงมากเป็น 2–8เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่มีอาการทางจิต4

            1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยโรคจิตเวชกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรง(SMI-V)ในชุมชนตำบลนางิ้ว 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชนและ 3) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม5 โดยนำแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement:CQI) เป็นกลไกในการปรับปรุงคุณภาพและแนวคิดการประเมินคุณภาพการบริการของ Edward  Deming Cycle6 มาใช้ประเมินความสัมพันธ์ของโครงสร้างกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นการศึกษาแบ่งเป็นวงรอบแต่ละวงรอบแบ่งเป็น3ระยะ ระยะที่1 เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง ในมุมมองของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการสุขภาพ ระยะที่  2 เป็นการดำเนินการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคจิตเวช ระยะที่ 3  เป็นการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงและเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่ม  การวิเคราะห์ข้อมูล  ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา

                จากการศึกษาสถานการณ์พบประเด็นที่สำคัญ 4 ประเด็นของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ดังนี้ 1)ความต่อเนื่องของข้อมูลพบว่าผู้ใช้บริการสะท้อนการได้รับข้อมูลที่ไม่เจาะจงต่อปัญหาและความต้องการของการดูแล 2)ด้านความต่อเนื่องของการบริหาร พบปัญหาในการขาดการส่งต่อข้อมูลระหว่างทีม และผู้ให้บริการสุขภาพกับสมาชิกครอบครัว 3)ด้านความต่อเนื่องของการดูแลภายในชุมชน พบว่าความสัมพันธ์ของผู้ป่วยและครอบครัวต่อชุมชนมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย 4)ด้านความต่อเนื่องของการดูแลภายในทีมสุขภาพพบว่าทีมสุขภาพไม่มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนขาดความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม รวมถึงยังขาดทักษะในการประเมินปัญหา และจากการวิเคราะห์ข้อมูดังกล่าวได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงโดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ส่งผลให้ลดความรุนแรงในชุมชนและลดการกลับเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชซ้ำ

ผลการพัฒนาระบบบริการการดูแลในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคจิตเวชพบว่าผลของคะแนนปฏิบัติการดูแลฯ ของผู้ให้บริการสุขภาพในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคจิตเวชเพิ่มขึ้นกว่าก่อนดำเนินการพัฒนามีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังดำเนินการมีค่ามากกว่าก่อนดำเนินการ (Mean4.80 และ Mean=2.83)ตามลำดับ ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจหลังดำเนินการมีค่ามากกว่าคะแนนความพึงพอใจก่อนดำเนินการ (Mean=4.4 และMean=3.8) ตามลำดับ

References

กรมสุขภาพจิต (2566) มาตรฐานการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง.พิมพ์ครั้งที่ 1 พิมพ์ที่ บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด

Iozzino, L., Ferrari, C., Large, M., Nielssen, O., & de Girolamo, G.(2005). Prevalence and Risk Factors of Violence by Psychiatric Acute Inpatients: A Systematic Review and Meta-Analysis. PloS on, 10(6), e0128536. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0128536

Walsh, E., Moran, P., Scott, C., McKenzie, K., Burns, T., Creed, F., Tyrer, P., Murray, R. M., Fahy, T., & UK700 Group (2003). Prevalence of violent victimisation in severe mental illness. The British journal of psychiatry : the journal of mental science, 183, 233–238. https://doi.org/10.1192/bjp.183.3.233

Rao A, Zhang Y, Muend S, Rao R.(2010). Mechanism of antifungal activity of terpenoid phenols resembles calcium stress and inhibition of the TOR pathway. Antimicrob Agents Chemother 54(12):5062-9

Holloway, I. and Wheeler, S. (2010) Qualitative Research in Nursing and Health Care. 3rd Edition, Wiley-Blackwell, Chichester.

Deming, Edward W (2023). PDSA Cycle.[Internet].The w.edwards deming institute.[cited 2023 April 1]. Available from : https://deming.org/explore/pdsa/.

ศิริพรรณ ธนันชัยและจินตนา ยูนิพันธุ์. (2562). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท.วารสารแพทย์นาวี 46(3).536 – 551.

Arnetz, J. E., Hamblin, L., Essenmacher, L., Upfal, M. J., Ager, J., & Luborsky, M. (2015). Understanding patient-to-worker violence in hospitals: a qualitative analysis of documented incident reports. Journal of advanced nursing, 71(2), 338–348. https://doi.org/10.1111/jan.12494

National Collaborating Centre for Mental Health (UK). (2015). Violence and Aggression: Short-Term Management in Mental Health, Health and Community Settings. British Psychological Society (UK).

กรมสุขภาพจิต (2566) รายงานการเข้าถึงของผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. ที่มา https://dtc.dmh.go.th/AccessHealthServices/ReportView?reportCode=2095463c-c456-4192-ad60-2a3d34baaa8f

กลุ่มภาระกิจการพยาบาล.(2566).รายงานสถิติผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์.เลย

กลุ่มงานสารสนเทศ. (2566). รายงานสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการ โรงพยาบาลสังคม. อุดรธานี

วิไลรัตน์ สะสมผลสวัสดิ์ สมจิต แดนสีแก้ว สมพร รุ่งเรืองกลกิจ.2547.การจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีสำหรับบุคคลที่ป่วยเป็นโรคจิตเภทในชุมชน.ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้า 1-9.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ.(2547).รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน.ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิณณรัฐ ศรีหารักษา.(2566).การดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร : กรณีศึกษาตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา.8(1):436-447.

Crooks, V. A., & Agarwal, G. (2008). What are the roles involved in establishing and maintaining informational continuity of care within family practice? A systematic review. BMC family practice, 9, 65. https://doi.org/10.1186/1471-2296-9-65

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25