ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการดื้อยาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ศุจิมน มังคลรังษี -
  • อมิรา วงศ์ศรีศุภกุล
  • ดณิตา สุวิชชากุล
  • วรพร ขันธ์สุวรรณ
  • ธัญธิดา ชยาวนิช
  • มัทธาธิยาห์ ใจศรีตระกู
  • ธนบดี งิ้วพรหม
  • ลลนา พวงชมภู
  • ลลิตา พวงชมภู
  • สิริกร ฐิติอนันท์
  • ลลสา ครูทรงธรรม

คำสำคัญ:

เชื้อดื้อยา, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา

บทคัดย่อ

การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะและการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาในประชาชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จำนวน 1,714 คน ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมผ่านแบบสอบถามออนไลน์ที่ครอบคลุมความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันการดื้อยา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test, ANOVA และแบบจำลองเชิงเส้นทั่วไป โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการดื้อยาอยู่ในระดับปานกลาง (M=10.17, SD=1.82) และมีทัศนคติที่ดีต่อการป้องกันเชื้อดื้อยา (M=25.11, SD=3.22) ระดับพฤติกรรมป้องกันเชื้อดื้อยาอยู่ที่ปานกลาง (M=46.83, SD=6.90) ผู้หญิงมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันเชื้อดื้อยา สูงกว่าผู้ชาย ความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อการป้องกันเชื้อดื้อยา (r=0.387**, p<0.01) และความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมป้องกันเชื้อดื้อยา (r=-0.078**, p<0.01) ทัศนคติต่อการป้องกันเชื้อดื้อยาเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันเชื้อดื้อยาได้ร้อยละ 9.80 (Exp (β)=0.098, p<0.01) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ปานกลางเกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน ควรเพิ่มการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม และพัฒนาการเข้าถึงระบบสาธารณสุข รวมถึงเสริมกฎระเบียบเพื่อจำกัดการขายยาปฏิชีวนะที่หน้าเคาน์เตอร์

References

World Health Organization. Antibiotic Resistance [Internet]. [Cited 2021 July 29] Available from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/antibiotic-resistance.

Center of Disease Control, Antibiotic / Antimicrobial Resistance (AR / AMR) [Internet]. [Cited 2021 July 28] Available from https://www.cdc.gov/drugresistance/about/where-resistance-spreads.html

European Center for Disease Prevention and Control, how does antibiotic resistance spread? [Internet]. [Cited 2021 July 29] Available from https://www.ecdc.europa.eu/sites/default/files/documents/how-does-antibiotic-resistance-spread.pdf

Pediatric Infectious Disease Society of Thailand. Antibiotic use [Internet]. [Cited 2021 July 29] Available from https://www.pidst.or.th/A743.html

ยุทธภูมิ มีประดิษฐ์, ภักดี สุขพรสวรรค์ และฐิตินันท์ เอื้ออำนวย. สำรวจสถานการณ์ปัญหาการบริโภคยาปฏิชีวนะเพื่อพัฒนารูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัย. [อินเตอร์เน็ต]. มหาวิทยาลัยบูรพา. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์) [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/3953/1/2564_097.pdf

Hfocus. Drug resistance caused death [Internet]. [Cited 2021 July 20] Available from https://www.hfocus.org/content/2020/07/19750

นันท์นภัส ทองอินตา และศุจิมน มังคลรังษี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา:กลุ่มครูโรงเรียนมัธยมในกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2564. 6(1); 54-66.

จิดาภา รัตนถาวร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาของนักเรียนระดับชั้น ม.4-6 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2564; 6(1) :111-124.

นีน่า ลาวิคกิ. ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาของประชาชนที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2021; 6(2): 71-84.

อัมพร ยานะ และดลนภา ไชยสมบัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชุมชน.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2021; 31(1):121-134.

จิรชัย มงคลชัยภักดิ์, จิรวัฒน์ รวมสุข และ เอมอร ชัยประทีป. การศึกษาความรู้และพฤติกรรมเกี่ยว กับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2012; 6:2 Available from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/25729

กาญจนชญา ศิริโชติ, ประเทือง หงสรานากร, ปิยลัมพร หะวานนท์ และวัฒนา ปานน้อย. การประเมินทัศนคติและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในจังหวัดตรัง ประเทศไทย. วารสารวิจัยสุขภาพ. 2014; 28: 299-307.

สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร และมัณฑนา เหมชะญาติ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดฉันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2014;31 (2)

Cochran Chanuan Uakarn, Kajohnsak Chaokromthong and Nittaya Sintao. Sample Size Estimation using Yamane and Cochran and Krejcie and Morgan and Green Formulas and Cohen Statistical Power Analysis by G*Power and Comparisons. APHEIT INTERNATIONAL JOURNAL. 2021; 10(2): 76-88

Bloom, Benjamin S., et al. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company

Hawkins, O., Anna, M, S., Amy M., Bevan, N., Judy, M., Antoine, V. O. and Chris, D. Comparing public attitudes, knowledge, beliefs and behaviours towards antibiotics and antimicrobial resistance in Australia, United Kingdom, and Sweden (2010-2021): A systematic review, meta-analysis, and comparative policy analysis. PLoS ONE. 2022; 17(1): e0261917. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0261917

Huttner, B., Herman, G., Theo, V., Stephan, H., Characteristics and outcomes of public campaigns aimed at improving the use of antibiotics in outpatients in high-income countries. Characteristics and outcomes of public campaigns aimed at improving the use of antibiotics in outpatients in high-income countries. The Lancet Infectious Diseases. 2010; 10(1): 17-31. DOI: https://doi.org/10.1016/S1473-3099(09)70305-6

Huh, K., Doo, R, C., So H, K., Sun Y, Cho., Young, E, H., Cheol-In, K., Kyong, R, P. & Jae-H. Song. Factors affecting the public awareness and behavior on antibiotic use. European Journal of Clinical Microbiology & Infectious Diseases. 2018; 37: 1547–1552.

Zanichelli, V., G, Tebano., I.C. Gyssens., V. Vlahović-Palčevski., A.A. Monnier., M. Stanic Benic., S. Harbarth., M. Hulscher. and C. Pulcini., B.D. Huttner. Patient-related determinants of antibiotic use: a systematic review. Clinical Microbiology and Infection. 2019; 25; 48-53. https://www.clinicalmicrobiologyandinfection.com/article/S1198-743X(18)30398-7/fulltext

สุณิชา ชานวาทิ, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, อังคณา วิรัชกุล, วันวิสา แก้วแกมกาญจน์, วุฒิพันธ์ วงศ์มงคล, อภิชาติ ธัญญาหาร และวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. ความรู้และการใช้ยาปฏิชีวนะในประเทศไทย: การสำรวจครัวเรือนแห่งชาติ พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์พีแอลโอเอส วัน. 2019; 14(8): e0220990.

ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา และกวี ไชยศิริ. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน. 2559. 409-416. [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2559Vol4No1_53.pdf

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับประชาชน. [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A743.html

Thairath. [อินเตอร์เน็ต]. สาวรีวิวชีวิตจริงของคนไข้ หมดเวลา 1 วัน ไปกับการรอคิวรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ. [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/news/society/2697139

Mgronline. [อินเตอร์เน็ต]. รพ.รัฐ อ้างรอนาน ก่อนพาลูกรักษารพ.เอกชน ชาวเน็ตถล่มวิจารณ์ให้เห็นใจจนท.บ้าง. [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000104282

Fatemah M. Alsaleh, Muna Elzain, Zahra K. Alsairafi, and Abdallah Y. Naser. Perceived Knowledge, Attitude, and Practices (KAP) and Fear toward COVID-19 among Patients with Diabetes Attending Primary Healthcare Centers in Kuwait. Int J Environ Res Public Health. 2023; 20(3): 2369.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13