ผลของการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านอุบัติภัยสารเคมีของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุวพิทย์ แก้วสนิท -

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อม, การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน, อุบัติภัยสารเคมี

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของหน่วยบริการสาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีเกิดอุบัติภัยสารเคมีและศึกษาผลของการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านอุบัติภัยสารเคมี ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงพยาบาล จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการวิจัย พบว่า การเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินสารเคมี แบบ PDCA ได้แผนปฏิบัติการ ดังนี้ 1) แผนทรัพยากร บทบาท หน้าที่รับผิดชอบ 2) การพัฒนาบุคลากร 3) การสื่อสารการมีส่วนร่วม 4) อบรมการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินสารเคมี หลังพัฒนาค่าเฉลี่ยความรู้การปฏิบัติการเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) มีการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 52.1 เป็น ร้อยละ 57.4 มีความต้องการในการสนับสนุนเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในการดำเนินงาน จาก ร้อยละ 92.6 เป็น ร้อยละ 95.7 ด้านกำหนดนโยบายของหน่วยงาน จาก ร้อยละ 92.6 เป็น ร้อยละ 95.7 และไม่ต้องการสนับสนุนลดลง จาก ร้อยละ 84.0 เป็น ร้อยละ 81.9 ตามลำดับ เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังดำเนินการค่าเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมในการจัดการอุบัติภัยสารเคมีไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ หน่วยบริการสาธารณสุขควรมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการอุบัติภัยสารเคมีเพื่อช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยได้อย่างปลอดภัยทันท่วงที

References

Tkacz AP, Czerczak S, Konieczko K, Dobecka M. Cytostatics as hazardous chemicals in healthcare workers’ environment. International Journal of Occupational Medicine and Environmental Health [internet]. 2019 [cited 2023 March 2] ; 32(2): 141–59. Available from: https://doi.org/10.13075/ijomeh.1896.01248

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังภัยด้านสารเคมี. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2567] เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th

ชัชวาลย์ พุ่มชบา, รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ, พระปลัดสุระ ญาณธโร. ประสิทธิภาพของการปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันและควบคุมสารเคมีและวัตถุอันตรายพื้นที่กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬาคชสาร 2566; 14(2): 232-247.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมแยกตามพื้นที่. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม 2567] เข้าถึงจาก: userdb.diw.go.th/factoryPublic/tumbol.asp

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. แผนรองรับด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีอุบัติภัยสารเคมี. [อินเตอร์เน็ต]. 2567. [สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://www.skho.moph.go.th

Wayne WD. Biostatistics: A Foundations for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons; 1995

Kemmis S & McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Victoria, Australia: Deakin University Press, 1988.

Bloom BS. Hand Book on formative and summative evaluation of student learning. New York McGraw-Hill, 1971.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. การเตรียมการรองรับอุบัติภัยสารเคมีและการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2560

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.

บัญชา คหินทพงษ์. การเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบโต้เหตุฉุกเฉินจากสารเคมีและวัตถุอันตรายภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางโพ. [รายงานส่วนบุคคลนักบริหารมหานคร ระดับต้น]. สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร, 2563.

นรินทิพย์ ชัยพรมเขียว, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, สุธี อยู่สถาพร. มาตรการในการควบคุมและป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรณีศึกษา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด่านพรมแดนแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารกฎหมายสขภาพและสาธารณสุข 2560; 3(2): 193-210.

Wang L, Gao S, Chu S, JiayiLi, Jin S, Li N and Zhang L. Artificial Intelligence (AI) Technology Assisted Emergency Management in Oil Industry. Journal of Physics: Conference Series 2025; 012017. 2021. DOI: 10.1088/1742-6596/2025/1/012017

Gyllencreutz L, Sofia Karlsson, Sjölander A, Björnstig J, Hedberg P. Chemical incident preparedness among Swedish emergency medical service nurses: A qualitative study. International Journal of Paramedicine, 2024; (5): 103-17.

พยุง พุ่มกลิ่น. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการของเสีย สารเคมีและวัตถุอันตราย ของบุคลากร โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2566; 6(1): 115-28.

มุจลินท์ อินทรเหมือน, จำนงค์ ธนะภพ, จันจิรา มหาบุญ, ศิริพร ด่านคชาธาร, มัตติกา ยงประเดิม. การประเมินการรั่วไหลของสารคลอรีนในโรงงานผลิตถุงมือยางแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลาด้วยโปรแกรม ALOHA และ MARPLOT.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(2): 211-20.

Westman A, Saveman BI, Björnstig U, Hylander J, Gyllencreutz L. Mobilisation of emergency services for chemical incidents in Sweden. Scand J Trauma Resusc Emerg Med [internet]. 2021 [cited 2023 Nov 25]; 29: 99. Available from: https://doi.org/10.1186/s13049-021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13