ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการสูบบุหรี่โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมของนักเรียนมัธยมตอนต้นโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นภาภรณ์ พัฒน์มณี -
  • นฤมล สินสุพรรณ
  • ชนะพล ศรีฤาชา

คำสำคัญ:

การป้องกันการสูบบุหรี่, ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน, การสนับสนุนทางสังคม, นักเรียนมัธยมตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการสูบบุหรี่ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2566 โดยการสุ่มเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 120 คน จาก2 โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง (n=60) และกลุ่มควบคุม (n=60) โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันการสูบบุหรี่ ซึ่งประกอบด้วย การบรรยาย "โทษ พิษ ภัยของบุหรี่ " การชมคลิปวิดีโอ สปอร์ตโฆษณา บุคคลต้นแบบที่เคยสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกได้สำเร็จ คู่มือการป้องกันการสูบบุหรี่และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากผู้วิจัยให้ความรู้ กระตุ้นเตือน โดย เพื่อน ครูและผู้ปกครอง กลุ่มควบคุมได้รับสุขศึกษาในโรงเรียนระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ลักษณะทางประชากรโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยคะแนน ด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนและค่าเฉลี่ยความแตกต่าง ของคะแนนด้านความรู้เกี่ยวกับโทษ พิษภัยของการสูบบุหรี่ ทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้ประโยชน์ในการไม่สูบบุหรี่การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวป้องกันการสูบบุหรี่ เพิ่มขึ้นจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการป้องกันการสูบบุหรี่โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมนี้มีประสิทธิผลในการป้องกันการสูบบุหรี่ได้ ดังนั้น ควรนำโปรแกรมไปขยายผลให้ครอบคลุมนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน

References

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนวัฒน์ สมบูรณ์และคณะ .(2562). ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่โดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคม: กรณีศึกษาตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน.หน้า 83-93.

ปรัชพร กลีบประทุม. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ในตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปราณี แผนดี (2563) ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการลดสูบบุหรี่ต่อพฤติกรรมการลดสูบบุหรี่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร วิทยานิพนธ์เสนอบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปีการศึกษา 2563 หน้า 8-43

พรรณปพร ลีวิโรจน์ , ดร.อรวรรณ คุณสนอง .(2560).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ผลการพัฒนาโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรม เพื่อลดการสูบ บุหรี่ในวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา หน้า 12-18.

พัชรินทร์ อัจนากิตติ,ทัศนีย์ รวิวรกุล,สุรินธร กลัมพากร และ นฤมล เอื้อมณีกูล. (2565). ผลของโปรแกรมป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ ในนักเรียนอาชีวศึกษา วารสารพยาบาล 10-19.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย). 2563. การแถลงข่าววิกฤตสุขภาพเยาวชนไทยจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565 จาก https://news.thaipbs.or.th/cont/.286975

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม, 2563.จาก http:// www.nso.go.th

สถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิ พลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร.2563 . (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565 จาก https://th.wikipedia.org/wiki

สถิติผู้เสียชีวิตจากบุหรี่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)2563. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย .2565) http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N31-08-61-1.aspx

Johnston et al. (2023). Electronic cigarette use among adolescents: A cross-sectional study in Hong-Kong. BMC Public Health, 16(202), 1-8.

Miech et al. (2021). Depiction of health effects of electronic cigarette on YouTube. Journal of Substance Use, 21(6), 614-619.

Park-Lee, C. Ren, M.D. Sawdey, A.S. Gentzke, M. Cornelius, A. Jamal, K. WHO. (2021). Report on the global tobacco epidemic : addressing new and

Gorfinkel et al. ( 2022 ).The Link Between Depressive Symptoms and Vaping Nicotine inUS Adolescents, 2017–2019Journal of Adolescent Health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13