การพัฒนาเครือข่ายการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ราชันย์ ท้าวพา -

คำสำคัญ:

การป้องกันการติดเชื้อวัณโรค, กลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการพัฒนาเครือข่ายการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค และการประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาเครือข่ายการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เครือข่าย จำนวน 192 คน ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านและผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค กลุ่มละ 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Wilcoxon Signed Ranks Test, Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา  

ผลการพัฒนาเครือข่ายการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ประกอบด้วย การร่วมวางแผน (plan) การปฏิบัติ (do) การสังเกตผลการปฏิบัติ (check) การตรวจสอบและประเมินผล (action) ผลการพัฒนาเครือข่าย ในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน พบว่า ได้รูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรค ผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน มีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคและป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน หลังพัฒนาเครือข่ายมีความรู้โดยรวมระดับดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) มีส่วนร่วมดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อวัณโรคโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการพัฒนากลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านพบว่า หลังพัฒนามีพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.012) ผลการดูแลผู้ป่วย พบว่า ระยะเวลาที่ป่วยโรควัณโรค 1 ปีขึ้นไป ร้อยละ 69.9 ระยะเวลาที่ได้รับยารักษาโรควัณโรค 1 ปีขึ้นไป ร้อยละ 21.7 เคยนอนรักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 20.5 มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 6.0 การรักษาครบ ร้อยละ 72.3 รักษาหาย (cured) ร้อยละ 36.1 รักษาล้มเหลว และ เสียชีวิตระหว่างการรักษา ร้อยละ 15.7 สรุป หลังพัฒนาเครือข่ายการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน มีความรู้ พฤติกรรมการป้องกันและปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

References

World Health Organization. WHO global lists of high burden countries for TB, multidrug/rifampicin resistant TB (MDR/RR-TB) and TB/HIV, 2021–2025. Geneva: WHO, 2023.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่, 2567. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2567]. จาก https://healthkpi.moph.go.th

อมรรัตน์ ชุตินันทกุล, อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, ณัฐกิจ พิพัฒน์จาตุรนต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการรักษาสำเร็จผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่คนไทยในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค 2564; 47(4): 940-54.

อรรถกร จันทร์มาทอง, ลัดดาวัลย์ ปัญญา. ผลสำเร็จของการรักษาผู้้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ที่มีผลตรวจยืนยันและได้รับแจ้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2563 ภายใต้กลไกพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. วารสารวัณโรค โรคทรวงอก และเวชบำบัดวิกฤติ 2565; 41(3): 110-20.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู, 2567. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567]. จาก https://ossc.fdanongbualamphu.com

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. จำนวน Sample Size ที่เหมาะกับการทำ Research, 2564. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567]. จาก www.qualtrics.com/au

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. คู่มือผู้ประเมินคุณภาพโรงพยาบาลด้านการดูแลรักษาวัณโรค. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2564.

Bloom BS. Hand Book on formative and summative evaluation of student learning. New York McGraw-Hill, 1971.

Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son, 1967.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc., 1977.

อัญชนา เอี่ยมปิยะกุล. การประเมินความเสี่ยงของโรควัณโรคด้วยการใช้รูปแบบสถิติ พื้นที่อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล. Disease Control Journal 2020; 46(4): 494-504.

Jaramillo C. The evolution of extant South American tropicalbiomes. New Phytologist 2023; 239: 477–93.

Adegbite B, Edoa J, Achimi A, Abdul J, et al. Non-communicable disease co-morbidity and associated factors in tuberculosis patients: A cross-sectional study in Gabon. eClinicalMedicine 2022; 45: 101316. doi: 10.1016/j.eclinm.2022.101316

จงกล ธมิกานนท์, ภัทรวรรณ ชัยสวัสดิ์, พิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์, วราลี วงศ์ศรีชา, วรรณ์นิภา แสนสุภา. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตระหว่างการรักษา จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2021; 6(3): 21-28.

Baluku JB, Kabamooli RA, Kajumba N, et al. Contact tracing is associated with treatment success of index tuberculosis cases in Uganda. International Journal of Infectious Diseases 2021; 109: 129-36.

Kemmis S & McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Victoria, Australia: Deakin University Press, 1988.

สมลักษณ์ หนูจันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน โดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(4): 665-73.

Chakaya J, Khan M, Ntoumi F, et al. Global Tuberculosis Report 2020 – Reflections on the Global TB burden, treatment and prevention efforts. International Journal of Infectious Diseases 2021; 113: 7-12.

World Health Organization. Systematic screening for active tuberculosis: an operational guide. WHO Library Cataloguing-in-Publication Data. Geneva, Switzerland: WHO, 2015.

Sinsap M, Hoomkam N, Chompook P. The incidence of relapse tuberculosis and its determinants among Tuberculosis patients in Bangkok. Journal of Medicine and Health Sciences 2022; 29(1): 83-96.

ภิเษก วัฒนชัย. ผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อรายใหม่ที่ได้รับ First Line Drug ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2020; 1(2): 250-56.

จันทร์ชนก กิตติจันทโรภาส. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562;5(03): 74-74.

Suárez I, Fünger SM, Kröger S, Rademacher J, Fätkenheuer G, Rybniker J. The Diagnosis and Treatment of Tuberculosis. DTSCH AERZTEBL INT 2019; 116(43): 729-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13