ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารว่าง และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยการฟอกเลือดจากเครื่องไตเทียม
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรัง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม , ภาวะโภชนาการ, ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารว่างบทคัดย่อ
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการเลือกบริโภคอาหารทำให้ผู้ป่วยเบื่อและปฏิเสธการรับประทาน ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมระหว่างมื้อหรืออาหารว่างจึงมีความสำคัญในการช่วยลดปัญหาทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารว่าง และศึกษาภาวะโภชนาการ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดจากเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสนทนากลุ่มจำนวน 12 ราย นำข้อมูลที่ได้สร้างเป็นแบบสอบถามความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารว่าง และกลุ่มตัวอย่างสำหรับสอบถามความต้องการผลิตภัณฑ์และประเมินภาวะโภชนาการจำนวน 60 ราย ด้วยแบบประเมินภาวะโภชนาการ subject global assessment (SGA) และ malnutrition inflammatory score (MIS) วัดสัดส่วนร่างกาย และเก็บข้อมูลผลทางห้องปฏิบัติการจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีไคสแควร์ ผลการตอบแบบสอบถามความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารว่าง พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 68.30 มีความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารว่าง นอกจากนั้นผู้ป่วยยังให้ความสำคัญในเรื่องการเข้าถึงและหาซื้อได้ง่ายของผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือลักษณะอาหารว่างที่มีลักษณะชิ้นเล็กๆ หลายๆ ชิ้น จำพวกผลไม้หรือคุกกี้ และมีราคาที่ไม่สูงมากนัก และผลการศึกษาภาวะโภชนาการ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะทุพโภชนาการตั้งแต่ระดับปานกลางถึงรุนแรง เมื่อประเมินภาวะโภชนาการด้วยแบบประเมินภาวะโภชนาการทั้งสองแบบ (SGA B ร้อยละ 55 และ MIS B ร้อยละ 56.67) สรุปได้ว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะทุพโภชนาการ และต้องการผลิตภัณฑ์อาหารว่าง ที่สามารถหาซื้อและเข้าถึงได้ง่าย มีราคาที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะช่วยลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
References
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.; 2561.
พิสิษฐ์ เวชกามา, อติพร อิงค์สาธิต, อัมรินทร์ ทักขินเสถียร. การศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. สถาบันวิจัย ระบบ สาธารณสุข; 2015.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ.2564-2565: กรุงเทพฯ; 2567.
สมพร ชินโนรส. ภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. สุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2562;5:1-8.
Zaki D, Mohamed RR, Mohammed N, Abdel-Zaher RB. Assessment of malnutrition status in hemodialysis patients. Clinical Medicine and Diagnostics 2019;9:8-13.
กิตติ์รวี กฤษฏิ์เมธาภาคย์, วีระเดช พิศประเสริฐ. สาเหตุของภาวะขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. อายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;3:12-21.
จักรกฤษณ์ วงราษฎร, กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม, สุวินัย แสงโย, ศศินัฎฐ์ พงษ์ธรรม, นิภาภรณ์ นิ่มมาศ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ โรงพยาบาลมาราชนครเชียงใหม่. วิจัยสารณสุข 2561;12:625-35.
วณิชา พึ่งชมภู. การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 1 ed. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุธาการพิมพ์จำกัด; 2558.
ศิรินทร์ จิวากานนท์. Nutritional management in chronic hemodialysis patients. In: พงศกร คชเสนี, ขจร ตีรณะนากุล, ทวี ชายชัยรุจิรา, ธนันดา ตระการวนิช, ทวีพงษ์ ปาจรีย์, เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์, editors. Essentials in hemodialysis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนเจอนัล พับลิเคชั่น; 2558. p. 328-50.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ; 2565.
มลิวัลย์ วงศ์พยัคฆ์. อาหารว่างเพื่อสุขภาพ (Healthy Break) กับหลักการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพดี. โรงพยาบาลนครพนม 2560;4:46-70.
สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. คำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่ 1 ed. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.; 2563.
Ikizler TA, Cuppari L. The 2020 updated KDOQI clinical practice guidelines for nutrition in chronic kidney disease. Blood Purification 2021;50:667-71.
เพ็ญขวัญ ชมปรีดา. การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสและการยอมรับของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.
Wayne WD, Chad LC. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9th ed. ed. New York: John Wiley & Sons; 2010.
Steiber AL, Kalantar-Zadeh K, Secker D, McCarthy M, Sehgal A, McCann L. Subjective Global Assessment in chronic kidney disease: a review. Journal of Renal Nutrition 2004;14:191-200.
Palmer SC, Hanson CS, Craig JC, Strippoli GF, Ruospo M, Campbell K, et al. Dietary and fluid restrictions in CKD: a thematic synthesis of patient views from qualitative studies. American Journal of Kidney Diseases 2015;65:559-73.
Borrelli S, Provenzano M, Gagliardi I, Michael A, Liberti ME, De Nicola L, et al. Sodium intake and chronic kidney disease. International journal of molecular sciences 2020;21:4744.
Neale EP, Middleton J, Lambert K. Barriers and enablers to detection and management of chronic kidney disease in primary healthcare: a systematic review. BMC nephrology 2020;21:1-17.
อักษรา ขจรกิจเจริญ, ไกรวิพร เกียรติสุนทร. ภาวะสูญเสียโปรตีนและพลังงานในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 2559;22:22-9.
Belazelkovska A, Popovska M, Spasovski G, Masin-Spasovska J, Cekovska S, Atanasovska-Stojanovska A, et al. Oral and salivary changes in patients with chronic kidney disease. BANTAO J 2014;12:97-102.
ชัยชาญ หล้าสุวงษ์. การรับรู้กระบวนการตัดสินใจซื้อและความคิดเห็นที่มีต่อการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง: มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ; 2562.
Ikizler TA, Pupim LB, Brouillette JR, Levenhagen DK, Farmer K, Hakim RM, et al. Hemodialysis stimulates muscle and whole body protein loss and alters substrate oxidation. American Journal of Physiology-Endocrinology And Metabolism 2002;282:E107-E16.
Mak R, Cheung W, Cone R, Marks D. Leptin and inflammation-associated cachexia in chronic kidney disease. Kidney international 2006;69:794-7.
ประสาร เปรมะสกุล. คู่มือแปลผลตรวจเลือด:เล่มสอง. 5 ed. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2554.
Kamal A. Estimation of blood urea (BUN) and serum creatinine level in patients of renal disorder. Indian J Fundam Appl Life Sci 2014;4:199-202.
Peng H, Aoieong C, Tou T, Tsai T, Wu J. Clinical assessment of nutritional status using the modified quantified subjective global assessment and anthropometric and biochemical parameters in patients undergoing hemodialysis in Macao. Journal of International Medical Research 2021;49:03000605211045517.
Shankar M, Augustine R, Siddini V, Bonu R, Ballal S. Subjective Global Assessment and Quality of Life in Hemodialysis Patients-A Clinical Observational Study. Journal of Clinical & Diagnostic Research 2020;14:13-7.
Kalantar-Zadeh K, Kopple JD, Block G, Humphreys MH. A malnutrition-inflammation score is correlated with morbidity and mortality in maintenance hemodialysis patients. American journal of kidney diseases 2001;38:1251-63.
Nemutlu Y, Cebioğlu IK. Consistency of MIS with other malnutrition screening tools among adult and elderly hemodialysis patients. Journal of Healthcare Quality Research 2023;38:68-75.