พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของคนพิการทางการเคลื่อนไหว ในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คนพิการทางการเคลื่อนไหว, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, ชุมชนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ผ่านการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลากรายชื่อ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 22 คน และเพศชาย จำนวน 18 คน อายุเฉลี่ย 69.9 ± 16.6 ปี (ช่วงอายุ 23 - 93 ปี) ทำการศึกษาด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 5 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการจัดการอารมณ์ พฤติกรรมไม่สูบบุหรี่ และพฤติกรรมไม่ดื่มสุรา คำถามด้านละ 5 ข้อ รวมทั้งหมด 25 ข้อ ประเมินคะแนนเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ปฏิบัติประจำ ปฏิบัติบ่อยครั้ง ปฏิบัติบางครั้ง และปฏิบัติน้อย/ไม่ปฏิบัติ คะแนนรวมทั้งหมด 100 คะแนน (ช่วงคะแนน 25 - 100 คะแนน) ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนสามเหลี่ยมในภาพรวม เท่ากับ 72.25 ± 7.01 คะแนน ซึ่งอยู่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาพฤติกรรมแยกรายด้าน พบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมไม่สูบบุหรี่ พฤติกรรมไม่ดื่มสุรา อยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการจัดการอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับต่ำ ผลการสำรวจครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยมเพื่อนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการวางแผนการโครงการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในพื้นที่ต่อไป
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. สถานการณ์คนพิการ 30 เมษายน 2567[ออนไลน์];2567[เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://dep.go.th/ /th/law-academic/knowledge-base/disabled-person-situation/สถานะการณ์คนพิการ-30-เมษายน-2567
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดขอนแก่น. รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2566[ออนไลน์];2567[เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จากhttps://khonkaen.m-society.go.th/สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดขอนแก่น
Doowa N, Panza A. Assessing the quality of life of persons with physical disabilities inresidential institutional centers, Thailand. Journal of Health Research 2017; 30(Suppl.1): S9-S15.
Crocker M, Hutchinson C, Mpundu-Kaambwa C, Walker R, Chen G, Ratcliffe J. Assessingthe relative importance of key quality of life dimensions for people with and withouta disability: an empirical ranking comparison study. Health and Quality of Life Outcomes 2021; 19(264): 1-12.
เพ็ญประภา ไสวดี, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการ ทางการเคลื่อนไหว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 24(1): 89-101.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. การพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายวัยทำงาน [ออนไลน์]; 2567[เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จากhttps://hp.anamai.moph.go.th/th/km-research-erson/download/?did=204956&id=117450&reload=
World Health Organization. The Ottawa Charter for health promotion. Copenhagen:
WHO regional for Europe, 1986.
กองสุขศึกษา. คู่มือการดำเนินงานสุขศึกษาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2565.
Rimmer JH, Rowland JL. Health Promotion for people with disabilities: implications for empowering the person and promoting disability-friendly environments. American Journal of Lifestyle Medicine 2008; 2(5); 409-420.
Stuifbergen AK, Becker HA. Predictors of health-promoting lifestyles in persons with disabilities. Res Nurs Health 1994; 17(1): 3-13.
Taechaboonsermsak P, Pitikultang S, Munsawaengsub C, Charupoonphol P. Quality of life and health promoting behaviors among disabled people in two provinces of Thailand. Journal of The Medical Association of Thailand 2009; 92(Suppl.7): S54-58.
ภรธิดา พงศ์พนัส, พรนภา หอมสินธุ์, ยุวดี ลีลัคนาวีระ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในอําเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560; 28(2): 1-12.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: (ม.ป.ท.)
ขวัญตา บุญวาศ, ธิดารัตน์ สุภานันท์, อรุณี ชุนหบดี, นิมัศตูรา แว. ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(1):205-216.
พิศิษฐ์ ชื่นแจ้ง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายระดับติดเตียง จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
ณัฐวดี มณีพรหม, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ภาวะความสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของ ผู้พิการเนื่องจากการตัดขาที่มารับบริการ ที่ศูนย์กายอุปกรณ์ในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554; 56(2): 137-148.
ศากุล ช่างไม้, สุปราณี แตงวงษ์, จิณณพัต ธนกิจวรบูลย์. ภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้พิการอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2553;16(3): 307-323.
สร้อยสวรรค์ เกตุไทย, พรนภา หอมสินธุ์, ยุวดี ลีลัคนาวีระ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกายของคนพิการ ทางการเคลื่อนไหวในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558; 8(1): 27-40.
พนิดา ศรีใจ, รังสิยา นารินทร์, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อ สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2563; 47(4): 128-141.