การวิจัยเพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ : การขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ โดยการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ถนอม นามวงศ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • นริศรา อารีรักษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • จินดา คำแก้ว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การวิจัยเพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ, ระบบสุขภาพไร้รอยต่อ, ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและประเมินผลลัพธ์การขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพอย่างไร้รอยต่อโดยการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง  ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด CFIR และ Proctor กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 520 คน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 87 คน ในพื้นที่ 5 อำเภอ จังหวัดยโสธร เครื่องมือประกอบด้วย แนวคำถามการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม ผลการวิจัยด้านองค์ประกอบการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ พบว่า เป็นนโยบายที่สำคัญและสอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุ มีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน บุคลากรและทรัพยากรมีความพร้อม ผลลัพธ์การดำเนินงาน พบว่ามีการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยปรับให้เข้ากับบริบทในพื้นที่ ผ่านการจัดทำแผน การบูรณาการกับงานประจำ กลไกขับเคลื่อนคือคณะทำงานเชิงบูรณาการ และคณะทำงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข การกำกับติดตามและเสริมพลังโดยใช้ข้อมูล ผลลัพธ์การจัดบริการ ได้แก่ 1)ส่งเสริมป้องกันและควบคุมความเสี่ยง 2)จัดการและร้องขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ 3) ดูแลเมื่อเจ็บป่วย 4)ดูแลหลังกลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน ผลลัพธ์ด้านสุขภาพพบว่าผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มลดลง การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นโยบายมีประโยชน์/มีความชัดเจน 2) บริบทต้นทุนในพื้นที่มีความพร้อม 3) การมีส่วนร่วมและการยอมรับ 4) กลไกขับเคลื่อนเชิงบูรณาการหลายระดับที่เข้มแข็ง 5) ความสามารถในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติและการกำกับติดตามที่ดี 6) เกิดระบบบริการสุขภาพที่ครบวงจร และ 7) ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ลดอัตราป่วยและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง

References

เขตสุขภาพที่ 10. แนวทางจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะหัวใจขาดเลือด ชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) ภายใต้โครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยง Stroke, STEMI และ Hip fracture. อุบลราชธานี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2564.

เขตสุขภาพที่ 10. แนวทางจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) ฉบับปรับปรุง ปี 2566. อุบลราชธานี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2566.

Laura J Damschroder, David C Aron, Rosalind E Keith, Susan R Kirsh JAA and JCL. Fostering implementation of health services research findings into practice: a consolidated framework for advancing implementation science. Implement Sci. 2009;4(50):1–15.

ศิรินาถ ตงศิริ, ศุภวิตา แสนศักดิ์, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, สุมัทนา กลางคาร. ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ การวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข.2561;12(1):7-26.

Proctor E, Landsvert J. Implementation research in mental health services. Bone [Internet]. 2008;23(1):1–7. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3624763/pdf/nihms412728.pdf

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC). สถานะสุขภาพ จังหวัดยโสธร [Internet]. 2564 [cited 2021 Jun 6]. Available from: https://yst.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=7f9ab56b0f39fd053143ecc4f05354fc

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Son; 1977.

Best JW. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood Cliffs; 1977.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

โอภาส การณ์กวินพงศ์. นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี; 2565.

นภัค นิธิวชิรธร. การประเมินผลระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. นครราชสีมา; 2561.

อรอนงค์ เอี่ยมขำ, วลัยลักษณ์ สิทธิบรรณ์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคหลอดเลือดสมองด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่น ในเขตสุขภาพที่ 11. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2567;10(1):70–82.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี; 2565.

เขตสุขภาพที่ 10. แนวทางจัดระบบชุมชนจัดการตนเองเพื่อผู้สูงอายุ สำหรับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) (ฉบับปรับปรุง ปี 2566). อุบลราชธานี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2566.

Sirikhetkona S, Amornsiriphongb S. Model Development of a Seamless Health Service System Multidisciplinary Health Cardiovascular Disease. Int J Innov Creat Chang. 2020;12(11):648–66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13