ปัจจัยทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • วัลลภา อุตเสน -
  • น้ำเงิน จันทรมณี

คำสำคัญ:

ปัจจัยภายใน, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคลากรสำคัญในการพัฒนาสุขภาพชุมชน การทราบปัจจัยทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ อสม. จะช่วยให้การพัฒนาศักยภาพของอสม. และประสบผลสำเร็จมากขึ้น งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ อสม.จังหวัดน่าน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 446 คน  เลือกมาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่ ไค-สแควร์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85.90) อายุเฉลี่ย 54.83 ปี (x̅ =54.83, S.D.= 9.52) การศึกษาระดับมัธยมศึกษา(ร้อยละ 57.00) สถานภาพสมรส/คู่(ร้อยละ 68.80) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานเป็นอสม. 10-20 ปี (ร้อยละ 28.70) (x̅ =13.69,S.D.= 9.42) ปัจจัยภายในอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความคาดหวังในการปฏิบัติงาน(B=0.34) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน(B=-0.38) การได้รับการยอมรับนับถือ(B=0.29) ลักษณะของงานที่สร้างสรรค์และท้าทาย(B=1.03) ความก้าวหน้าในงาน(B=0.48) และปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร(B=-0.46) ค่าจ้างและผลตอบแทน(B=0.57) ความมั่นคงในงาน(B=0.29) และตำแหน่งงาน(B=0.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอสม.ได้ร้อยละ 55.10 (R=0.551) ดังนั้นควรพัฒนาการปฏิบัติงานของอสม. โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมปัจจัยภายใน ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน เพื่อให้ อสม.ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

บูรณี สุริยไชย. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2560.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ศักยภาพ อสม. สืบค้นวันที่ 20 มิถุนายน 2566. จาก https://www.thaiphc.net/new2020/content/16.

ชนิดา เตชะปัน, สิวลี รัตนปัญญา และสามารถ ใจเตี้ย. การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่, วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 9(1): 17-23; มกราคม – มิถุนายน, 2562.

วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, กิตติพร เนาว์สุวรรณ และสายสมร วชิระประพันธ์. แนวทางการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คุณภาพเพื่อสนับสนุนกำลังคนด้านสาธารณสุขสำหรับระบบสุขภาพในอนาคต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30(2): 353-366; มีนาคม – เมษายน, 2564.

ณฐนนท บริสุทธิ์. การศึกษาสถานการณ์และทิศทางการพัฒนา อสม. ในยุคประเทศไทย 4.0. นนทบุรี: กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 2563.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนอสม.ที่มีสิทธิรับค่าป่วยการและมีการบันทึกเลขบัญชีธนาคารแล้ว, สืบค้นวันที่ 20 มิถุนายน 2566. จาก https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP000BBE.php

อักษราพร อุตศาสตร์ และวิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการในชุมชน ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 9(4): 21-32; ตุลาคม – ธันวาคม, 2566.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 1970.

Best,J.W.,Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliff, NJ: Prentice Hall, Inc; 1977.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ และยุคนธ์ เมืองช้าง. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(1): 60-70, 2019.

หมัดเฟาซี รูบามา, จันทราทิพย์ สุขุม, และคณะ. บทบาทเพศสภาพตามหน้าที่และสิทธิในด้านครอบครัว สังคม และการเมืองไทย มุมมอนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12, 2564.

บุญสืบ โสโสม. การคำนึงถึงเรื่องเพศสภาพ ประเด็นสำคัญสำหรับการปฏิบัติในคลินิกและการศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2): 1-8; เมษายน - มิถุนายน, 2560.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของประชาชน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น , 4(1): 137-152; มกราคม – มีนาคม, 2566.

จักรี ปัถพี. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 9(3): 1190-1205; กันยายน – ธันวาคม, 2559.

รัชนี คอมแพงจันทร์. การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตสุขภาพที่ 8 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), เมษายน, 2566.

กฤตภาคิณ มิ่งโสภา และณกมล จันทร์สม. แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 209-222; กรกฎาคม – ธันวาคม, 2564.

Herzberg F, et all. The Motivation to Work. New York : John and Son, 1959.

Peterson, E.,&Plowman, E.G.. Business organization and management. Homewood, llinois: Richard D. Irwin, 1989.

นรินทร บุณยเกียรติ และนัทนิชา โชติพิทยานนท์. ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในสำนักงบประมาณ. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้ และสหวิทยาการ, 6(3): 1-20; พฤษภาคม - มิถุนายน, 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13