การสํารวจประชากรหนู และปรสิตนำโรคจากหนู ภายในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2566 - 2567

ผู้แต่ง

  • บัญชา ขำศิริ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • ปิยะพันธ์ เชื้อเมืองพาน
  • กรรณิการ์ รัตนพันธ์

คำสำคัญ:

ค่าดัชนีหมัดหนู, ค่าร้อยละของการมีปรสิตอยู่บนตัว, ค่าร้อยละความสำเร็จในการวางกับดัก, กาฬโรค, ท่าอากาศยานเชียงใหม่

บทคัดย่อ

หนูเป็นสัตว์นำโรคโดยตรง และเป็นสัตว์รังโรคของโรคติดต่อมาสู่คน โดยเป็นพาหะนำโรคได้หลายโรคที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของโลกรวมทั้งในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตุประสงค์เพื่อสํารวจประชากรหนู และการควบคุมพาหะนำโรคภายในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสำรวจสัตว์รังโรค ปี พ.ศ. 2566 - 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  ผลการศึกษาพบว่า ค่าร้อยละความสำเร็จในการวางกับดัก ปี พ.ศ. 2566 เท่ากับ 4.0 และปี พ.ศ. 2567 เท่ากับ 9.0 ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2566 ดักหนูได้ 2 ชนิด เป็นหนูจี๊ด (Rattus exulans) จำนวน 1 ตัว  คิดเป็นร้อยละ 50.0 และหนูท้องขาว (Rattus tanezumi) จำนวน 1 ตัว คิดเป็นร้อยละ 50.0 หนูที่ดักได้ไม่พบปรสิตภายนอก สำหรับปี พ.ศ. 2567 ดักหนูได้ 3 ชนิด จำนวน 10 ตัว แบ่งเป็นหนูหริ่งป่าใหญ่ขนสั้น (Mus shortridgei) จำนวน 5 ตัว คิดเป็นร้อยละ 50.0, หนูฟานเล็ก (Maxomys whiteheadi) จำนวน  4 ตัว คิดเป็นร้อยละ 40.0 และหนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer) จำนวน 1 ตัว คิดเป็นร้อยละ 10.0  มีสัดส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย เท่ากับ 1:2.33 หนูที่ดักได้มีปรสิตภายนอก (Ectoparasite) จำนวน 1 ตัว     คิดเป็นค่าร้อยละของการมีปรสิตอยู่บนตัว เท่ากับ 10.0 ปรสิตภายนอกที่พบเป็นหมัดหนูชนิด Xenopsylla cheopis คิดเป็นค่าดัชนีหมัดหนู เท่ากับ 0.1 สำหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้    ควรมีการดำเนินการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และควรมีการเฝ้าระวัง และสํารวจประชากรหนู และการควบคุมพาหะนำโรคภายใน ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำผลการศึกษา ที่ได้มาเปรียบเทียบดูแนวโน้มของจำนวนพาหะนำโรค และเพื่อใช้ในการพยากรณ์การเกิดโรคติดต่อที่มีหนูเป็นรังโรคต่อไป

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (2005). นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561

ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์กฎหมายกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558

อัญชนา ประศาสน์วิทย์. แนวทางมาตรฐานการปฏิบัติงานด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พรมแดน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554

อัญชนา ประศาสน์วิทย์. หนูการสำรวจประชากร และการควบคุม (Rats Population Survey and Control). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2562

Gage KL.. In: World Health Organization. Plague manual epidemiology, distribution, surveillance and control chapter 6 plague surveillance. [Internet]. 1999. [cited 2024 April 7]; Available from: http://www.who.int/csr/resources/publications/plague/whocdscsredc992c.pdf

กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. กาฬโรค: โรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่ Plague : An Emerging Infectious Disease. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2539

สุรัตน์ ผลทอง. การสำรวจประชากรหนูเพื่อค้นหาสัตว์นำโรค และพาหะนำโรคภายในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง. กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และกักกันโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2567

บงกช เชี่ยวชาญยนต์, นิด รักแจ้ง และอรไท แซ่จิว. การศึกษาชนิดของเชื้อโรคเลปโตสไปรา ในหนู เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. จังหวัดสงขลา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559

จิรา แก้วคำ, ปรีชาพล ปึ้งผลพูล, อัญชนา ประศาสน์วิทย์ และภัทร กอมณี. การศึกษาพาหะนำโรค และอัตราการติดเชื้อโรคสัตว์สู่คนที่มีหนูเป็นรังโรค บริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ดอนเมือง. วารสารวิชาการสาธารณสุข; 2558, 24(1), 132-138.

วิชุตา บุษบงค์, บงกช เชี่ยวชาญยนต์, นิด รักแจ้ง และสงฆ์ ไพบูลย์. การศึกษาเปรียบเทียบจำนวนประชากรหนู และความชุกชุมของหมัดหนูในพื้นที่ด่านพรมแดนไทย-มาเลเซีย ปี 2559-2561. วารสารควบคุมโรค; 2562 45(2), 125-135.

พรชัย เกิดศิริ. พาหะนำโรค และอัตราการติดเชื้อโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนจากหนู ณ บริเวณช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าเรือกรุงเทพ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2560, 60(1), 18-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-13