การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยภาคีเครือข่าย ตำบลบุญเกิด อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, รูปแบบ, การพลัดตกหกล้ม, การป้องกัน, ภาคีเครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุโดยภาคีเครือข่ายตำบลบุญเกิด อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ 1) ศึกษาสถานการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในภาพรวมโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 316 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและไค-สแควร์ และ 2) ดำเนินการตามวงจรของการวิจัยเชิงปฏิบัติการคือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผลการปฏิบัติ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือภาคีเครือข่ายจำนวน 20 คน เก็บข้อมูลการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณที่สะท้อนผลสำเร็จของการดูแลเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 271 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาบริบทพบว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการต่อการพลัดตกหกล้มร้อยละ 26.94 มีประวัติการพลัดตกหกล้มร้อยละ 11.81 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มคือ การศึกษา อาชีพ และการมีโรคประจำตัว ผลการสังเคราะห์รูปแบบประกอบด้วย 3 ทีมดำเนินการคือทีมช่างจิตอาสาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ทีมแกนนำป้องกันพลัดตกหกล้มออกให้คำแนะนำ และทีมสหวิชาชีพจัดอบรมให้ความรู้ และแบ่งผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่มสี เรียงตามลำดับการช่วยเหลือก่อนและหลังคือ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว ผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า กลุ่มเสี่ยงพลัดตกหกล้มลดลงเหลือร้อยละ 8.86 การพลัดตกหกล้มลดลงเหลือร้อยละ 2.95 โดยสรุปรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุโดยภาคีเครือข่ายที่พัฒนาขึ้น ช่วยลดปัญหาการพลัดตกหกล้มได้จริงควรขยายผลในการดำเนินการในพื้นที่อื่นต่อไป
References
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. การพลัดตกหกล้ม ปัญหาในผู้สูงอายุที่พึงระวัง [Internet]. 2566 [cited 2023 Jul 12]. Available from: https://www.theprachakorn.com/newsDetail.php?id=817
ข่าว Thai PBS. Aging Society ไทยเข้าสู่สังคม “แก่เต็มขั้น” สวนทางเด็กแรกเกิดน้อย [Internet]. 2566 [cited 2023 Aug 15]. Available from: https://www.thaipbs.or.th/news/content/335743
ประกาศ ศรีแพงมล, คณะ. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการพลัดตกหกล้มในกลุ่มผู้สูงอายุในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาว อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร; 2566.
นิภาพร มีชิน, คณะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2566.
ประเวศ วะสี. กระบวนการนโยบายสาธารณะ (Public Policy Process). กรุงเทพฯ: บี. ยอนด์ พับลิสชิ่ง; 2552.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุญเกิด. รายงานประจำปี 2566. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุญเกิด; 2566.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. Victoria: Dear in University; 1988.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas. 1970;30(3):607-61.
อวยพร เรืองตระกูล. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย [Internet]. 2567 [cited 2023 Dec 12]. Available from: http://www.rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=713
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 2560;7(1):1-15.
โคตรสีเขียว ทิพวรรณ, ใจซื่อ ดิษฐพล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565;4(2):255-69.
วารุณี สุขรี่, ปวีณา ลิมปิทีปราการ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี [Internet]. 2565 [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00008f2023083114494779.pdf
วนิดา ราชมี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 6 [Internet]. 2565 [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://hpc6.anamai.moph.go.th/th/cms-of-15/download/?did=213400&id=91524&reload=
สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา สร้างจุดเปลี่ยนพัฒนาประเทศ [Internet]. 2560 [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://www.thaihealth.or.th/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/
พัชรินทร์ สมบูรณ์, คณะ. การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโดยบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่าย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2566;32(Suppl 1):102-112.