รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การดำเนินงาน, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทรูปแบบการดำเนินงาน 2) การสร้างรูปแบบ การดำเนินงาน 3) เปรียบเทียบความรู้และการมีส่วนร่วมการดำเนินงาน และ 4) ศึกษาปัจจัย ความสำเร็จของรูปแบบการดำเนินงานกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย 1) ศึกษาบริบทรูปแบบการดำเนินงานพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.50 ช่วงอายุ 36-40 ปี ร้อยละ 75.00 อาสาสมัครสาย สัมพันธ์ครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 55.00 สภาพปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดแนว ทางการดำเนินงานและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ตำบลพรรณา และผู้มีส่วนเก่ียวข้อง ตามกรอบกลยุทธ์ 3 ก ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้รับการติดตาม เยี่ยมบ้าน 2) การสร้างรูปแบบการดำเนินงาน พบว่า 1) การจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ 2) การติดตามเยี่ยม บ้านหญิงตั้งครรภ์ และ 3) การส่งต่อประเมินติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ 3) การเปรียบเทียบความรู้ และการมีส่วนร่วมก่อน – หลังการดำเนินงาน พบว่า คะแนนก่อนการดำเนินงานโดยรวมทุกด้าน ร้อยละ 63.50 และหลังการดำเนินงานร้อยละ 86.00 4) ปัจจัยความสำเร็จของรูปแบบการดำเนินงาน คือ ได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านการปฏิบัติงาน ความมุ่งมั่น (Drive) ตั้งใจนำความรู้ความสามารถของตนเองไปช่วยเหลือคนอื่น มีความละเอียดรอบคอบ มี ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ และช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย สะดวกและมีประสิทธิภาพ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
References
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) [ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2561]. จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117MinistryofPublicHealth.pdf.
กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10. (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2554) [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2561]. จาก http://wops.moph.go.th/ops/oic/Data/20161115144754_1_.pdf.
กระทรวงสาธารณสุข. ผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2560 [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2561]. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. รายงานผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก . สกลนคร : สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสกลนคร: 2561.
ปรเมษฐ์ กิ่งโก้. ยุทธศาสตร์ 3 ก (กินกระตุ้น กระตุก). สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขสกลนคร; 2561.
จินตนา ทอนฮามแก้ว. แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน]. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
ศุภิสรา วรโคตร. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของงานอนามัยแม่และเด็ก อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน]. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
ปิยะดา ชาตะวิถี. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะรอคลอด โดยครอบครัวมีส่วนร่วมโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน]. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
ปรียา แก้วพิมล. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลด้ วยพลังเรกิ เพื่อส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.
จิราพร คำรอด . การพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี; 2549.
ศรีวิภา เลี้ยงพันสกุล. สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของงานอนามัยแม่และเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ [ออนไลน์] 2551 [อ้างเมื่อ 20 พฤศจิกายน2561]. จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4378?locale-attribute=th
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว