มิติสุขภาพและสังคมของผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑสถานบำบัดพิเศษแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • เกษราภรณ์ บรรณวงศิลป์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ระพีพัฒน์ อาราษฎร์ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษแห่งหนึ่ง
  • วิโรจน์ แต่งด้วง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษแห่งหนึ่ง

คำสำคัญ:

มิติสุขภาพ, สังคม, ผู้ป่วยวัณโรค, ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงมิติสุขภาพและสังคมของผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑ สถานบำบัดพิเศษแห่งหนึ่ง ในช่วงเดือนตุลาคม 2560 ถึงเมษายน 2561 ประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑสถานบำบัดพิเศษ จำนวน 3 คน และผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑสถานบำบัดพิเศษ จำนวน 7 คน อาสาสมัคร จำนวน 2 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยถูกตีตราและความทุกข์ความกังวลมากกว่านักโทษคนอื่นๆ โดยในทัณฑสถานบำบัดพิเศษจะแยกผู้ป่วยออกจากผู้ต้องขังอื่นๆ เพื่อการป้ องกันโรคและลดการ กระจายของเชื้อโรคด้วยการจัดห้องพักพิเศษให้ผู้ป่วยวัณโรคยังมีความตระหนักและพฤติกรรมการ ดูแลอาการเจ็บป่วยของตนเองไม่เหมาะสม มีโอกาสกระจายของเชื้อโรคสู่ผู้ต้องขังคนอื่นๆ จิตอาสาดูแลผู้ป่วยวัณโรค ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านการให้ยาผู้ป่วย และขาดการป้องกันตนเอง มีโอกาสได้รับเชื้อวัณโรค นอกจากนั้นการที่ผู้ป่วยต้องเข้าฐานใหญ่ รวมกับผู้ต้องขัง ปกติคนอื่นๆ จะมีโอกาสแพร่เชื้อโรคได้ ในส่วนด้านการรับรู้ของผู้ป่วยเรื่องการรักษาโรคและการกินยา ผู้ป่วยจะมีความเข้าใจอย่างดีด้านปัญหาในการจัดระบบการดูแลผู้ป่วย พบว่า ยังมีปัญหาจากการมีจำนวนเจ้าหน้าที่น้อย และภาระงานอื่นๆ นอกเหนือจากการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ซึ่งในช่วง 2 เดือนที่ป่วย ผู้ป่วยวัณโรคจะถูกแยกออกจากผู้ต้องขังอื่นๆ เพื่อการป้องกันโรคและลดการกระจายของเชื้อโรค ด้วยการจัดห้องพักพิเศษให้ผู้ป่วย ซึ่งหลังจากนั้นผู้ป่วยจะถูกส่งตัวกลับไปห้องพักเดิม ซึ่งมีผู้ต้องขังจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการจัดระบบการดูแลที่ไม่ต่อเนื่อง และมีผลต่อการกินยาที่ต่อเนื่อง เสี่ยงต่อโอกาสที่จะรักษาวัณโรคให้หายขาดข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตและบริบทของผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑสถานบำบัดพิเศษเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑสถานบำบัดพิเศษให้สอดคล้องกับบริบทจำนวนผู้ต้องขัง และความพร้อมของบุคลากรด้านสาธารณสุข และควรมีการสื่อสารเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรักษาวัณโรคให้หายขาด รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการกำกับติดตามการดูแลผู้ป่วยวัณโรคต่อไป

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. รายงานผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2561.

ศิรินภา จิตติมณี, นิภา งามไตรไร. แนวทางการเร่งรัดการควบคุมวัณโรคในเรือนจำของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2552.

Jittimanee S, Ngamtrairai N, White M, Jittimanee S. A prevalence survey for smear-positive tuberculosis in Thai prisons. International Journal of Tuberculosis and Lung Diseases 2007; 11(5): 556-561.

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. รายงานผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลขอนแก่น ปี 2561. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2562.

Denzin NK. Sociological Methods: A source Book. Chicago: Aldine; 1970.

บุญยัง ฉายาทับ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดด้วยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำทัณฑสถาน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

Jacobson B. Modern Organization. New York: Knefp; 1986.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28