การจัดสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาวะผู้สูงวัย: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • พรรณิภา ไชยรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

ผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรส่งผลให้อัตราพึ่งพิงผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นวัยเด็ก ลดลงมีความซับซ้อนของปัญหาและความต้องการ ปรากฏชัดจากสภาพความเสื่อมตามวัย ภาวะ ฉุกเฉิน โรคและการเจ็บป่วยที่เกิดกับผู้สูงอายุ การจัดพื่นที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาพและการอยู่อาศัย ของผู้สูงอายุ จึงมีความสำคัญต้องตระหนักถึงสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพ สังคม รวมถึง ความสัมพันธ์ของคน เครือข่ายทางสังคม และความสอดคล้องเชิงวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ ศาสนา เขตพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความหลากหลาย ผู้ให้บริการต้องตระหนักในการออกแบบที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุ การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการนี้ ให้ความสำคัญกับ การจัดสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อสุขภาวะผู้สูงอายุ โดยเลือกเอกสารวิชาการ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลออนไลน์ ทั้งในและต่างประเทศ ประเมินคุณภาพตามการออกแบบงานวิจัย ทั้งงานวิจัยเชิงทดลอง ไม่ทดลอง งานวิจัยเชิงคุณภาพ การทบทวนวรรณกรรมบทความวิชาการ สรุป เลือกเอกสารทั้งสิ้น 21 บทความ ดำเนินการสกัดข้อมูล ทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ได้องค์ประกอบ การจัดการ 3 ส่วน ได้แก่ (1) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะทางกายภาพ ของบ้านหรือที่อยู่อาศัยและชุมชน (2) ผลลัพธ์ด้านสุขภาพจากการจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่ง ประกอบด้วยผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ระดับบุคคล เช่น ความสะอาดจิตสังคม และความมั่นคงในชีวิต ระดับครอบครัว คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและระดับชุมชน ทำให้เกิดผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม และด้านสังคม และ (3) ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับการจัดที่อยู่อาศัย ผลการวิเคราะห์ชี้นำความสัมพันธ์ลักษณะทางกายภาพ และสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้อธิบายข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่แสดงลักษณะของคุณภาพชีวิต และไม่ได้แยกสถานะสุขภาพในแต่ละ ระดับที่ชัดเจน

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2560: เสริมพลังกลุ่มเปราะบาง สร้างสังคม ไม่ทอดทิ้งกัน. นครปฐม : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พลับลชิ ชิ่ง; 2560.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในสถานดูแลระยะยาวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2552.

ปราโมทย์ ปราสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุ: แนวโน้มและผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 15 สิงหาคม 2557]. จากhttp://hp.anamai.moph.go.th/download

คณะกรรมาธิการสังคม กิจกรรมเด็กและเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. รายงานการพิจารณาการศึกษา เรื่องการสังเคราะห์การดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยปัญหาและข้อเสนอแนะ. กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ สำนักงานเลขาวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ; 2559.

มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2557.

Parra D. Perceived and objective neighborhood environment attributes and health related quality of life among the elderly in Bogota Colombia. Social Science & Medicine 2010; 1070 - 1076.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. โครงการจัดการความรู้ อาคาร สถานที่ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: พัฒนาพื้นที่ต้นแบบและปัจจัยสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2556.

สุภารัตน์ ชัยกิตติภรณ์, สมปรารถนาสุขเกษม, วัชรินทร์ เสมามอญ. รายงานการวิจัย การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (ปีที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ; 2556.

Gibson M, Petticrew M, Bambra C.et al. Housing and health inequalities: a synthesis of systematic reviews of interventions aimed at different pathways linking housing and health. Health & Place 2010; 175–184.

ณรงค์ ใจหาญ. การทบทวนเอกสารด้านบริการ และอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ : พัฒนาพื้นที่ต้นแบบและปัจจัยสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ (สสส.); 2554.

อนุชา แพ่งเกสร, นพพร วิวรรธกะ. อิทธิพลของปัจจัยและประสิทธิผลของการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.

อันธิกา สวัสดิ์ศรี. การศึกษาบ้านที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2559]. จากdric.nrct.go.th.

Hand C, Law M, Hanna S, Elliott S, McColl MA. Neighborhood influences on participation in activities among older adult with chronic health conditions. Health & Place. 2012; 869-876.

Szanton SL. Improving unsafe environments to support aging independence with limited resources. The American Geriatrics Society 2014; 2314-2320.

นอรีนี ตะหวา, ปวิตร ชัยวิสิทธิ์. การจัดการสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี; มปป.

ปิลันธน า วสุรัตน์. แนวทางการพัฒนาการจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารนโยบายและสวัสดิการสังคม]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2551.

Day R. Local environments and older people’s health: Dimension from a comparative study in Scothland. Health & Place 2008; 299-312.

Mazzella F. Social support and long term mortality in the elderly: Role of comorbidity. Archives of Gerontology and Geriatrics 2010; 323-328.

ดนัย บวรเกียรติกุล, เดชิษฐ นุ่มมีชัย. การสำรวจสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

Yeh J. Building Inclusion: Toward an Aging and Disability-Friendly City. AJPH 2016; 106(11).

Orrell A. The relationship between building design and residents’ quality of life in extra care housing schemes. Health & Place 2013; 52-64.

Mathis A, Rooks R. Kruger D. Improving the Neighborhood Environment for Urban Older Adults: Social Context and Self-Rated Health. International Journal of Environmental Research and Public Health 2016; 13(3).

Iwarsson S, Horstmann V, Slaug B. Housing matters in very old age-yet differently due to ADL dependence level differences. Scaninavian Journal of Occupational Therapy 2007; 14: 3-5.

Muramatsu N, Yin H, Hedeker D. Functional declines, Social support, and mental health in the elderly: Does living in a state supportive of home and community based services make a difference?. Social Science & Medicine 2010; 70: 1050-1058.

Downing J. The health effects of the foreclosure crisis and unaffordable housing: asystematic review and explanation of evidence. Social Science & Medicine 2016; 162: 88-96.

ธนวรรษน์ สํากําปัง . ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ต.ขามป้อม อ.พระยืน จ.ขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

วรชาติ พรรณะ. สภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุแยกตามกลุ่มอายุในเขตพื้นที่ ต . โนนฆ้อง อ .บ้านฝาง จ.ขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28