การศึกษาย้อนหลังภาวะ Phacomorphic และ Phacolytic glaucoma ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2557 - 2561
คำสำคัญ:
ระดับการมองเห็น, ต้อหิน, ต้อกระจก, การผ่าตัดต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงบทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาย้อนหลังภาวะ Phocomorphic และ Phacolytic glaucoma ที่ได้รับการผ่าตัดในกลุ่มงานจักษุกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ. 2557–2561 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ใช้สถิติพรรณนาจำแนกระดับการมองเห็น และความดันลูกตาก่อนและหลังการผ่าตัด วิธีการผ่าตัด พบผู้ป่วย 282 ราย เป็น Phocomorphic glaucoma 218 ราย และPhacolyticglaucoma 64 ราย เพศหญิงร้อยละ 60.28 มีช่วงอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 40.78 ผ่าตัดด้วยวิธี Extracapsular Cataract Extraction (ECCE) ร้อยละ 50.35 (142 ราย) วิธี Phacoemulsification ร้อยละ 39.71 (112 ราย) และวิธี Intracapsular cataract Extraction (ICCE) ร้อยละ 9.92 (28 ราย) การมองเห็นก่อนผ่าตัดอยู่ในระดับ HM, Good PJ มากที่สุด ร้อยละ 57.09 (161 ราย)ต่ำสุด FC ½ m ร้อยละ 5.32 (15 ราย )มีระดับการมองเห็นหลังผ่าตัดที่หนึ่งสัปดาห์ที่ 6/60 หรือดีกว่าร้อยละ 51.426/60 หรือน้อยกว่าร้อยละ 11.11 ระดับ 3/60 หรือน้อยกว่า ร้อยละ 27.78 เมื่อติดตามระดับการมองเห็นหลังผ่าตัดหนึ่งเดือนมีระดับ 6/60 หรือดีกว่าร้อยละ 70.83 ระดับ 6/60 หรือน้อยกว่า ร้อยละ 6.94 ระดับ3/60 หรือน้อยกว่าร้อยละ 22.22 เมื่อติดตามค่าความดันลูกตาเฉลี่ยก่อนผ่าตัด 31.27 มิลลิเมตรปรอท และหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์และ 1 เดือน ลดลงเหลือ 12.98 และ 12.42 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับสรุปได้ว่าการค้นพบ Phocomorphic/Phacolytic glaucoma ในระยะแรกๆ และผ่าตัดในเวลาที่เหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิผลต่อการรักษาและลดภาวะแทรกซ้อน เช่น เส้นเลือดจอตาอุดตัน ต้อหินขั้นรุนแรงและกระจกตาเสื่อมจึงควรรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักเข้ารับตรวจการรักษาในระยะแรกและพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้เพิ่มขึ้น
References
พัฒพงษ์ กุลยานนท์ และคณะ.ต้อกระจก.วารสารจักษุสาธารณสุข.2555; 21(1): 136-160.
สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง และคณะ. จักษุวิทยา. ตำราจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: ที คิว พี. 2555.
Kaiser PK,Friedman NJ,Pineda RP. The Massachusetts Eye and Ear Infirmary Illustrated Manual of Ophthalmology. 2008; 2: 277-279.
Kunimoto DY,Kanitkar KD,Makar MS. The Wills Eye Manual. 2006; 4: 177- 179.
WHO. ICD-10 10th revision Volum1 Tabular list fifth edition 2016 World HealthOrganization, TCMC (Thai Case Mix Center). 2016.
WHO. ICD-9CM 9th revision clinical modification 2010 Sixth edication, National Health Security office. 2010: 45-46.
Rijal AP, Karki DB.Visual outcome and IOP control after cataract surgery in lens induced glaucoma. Kathmandu University Medical Journal. 2006; 4(1): 30-33.
Prajna NV, Ramakrishanan R, Krishnada R, Manoharan N. Lens induced glaucoma-visual resultsand risk factors for final visual acuity. Indian J Ophthalmol. 2004; 44(3): 149-155.
Ramakrishanan R, Maheshwari D,Kader MA, et al. Visual prognosis, intraocular pressure control and complications in phacomorphic glaucoma following manual small incision cataract surgery. Indian J Ophthalmol. 2010; 58(4): 303-306.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว