ผลของการใช้คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2562
คำสำคัญ:
คู่มือปฏิบัติงาน, ระดับความสำเร็จของการใช้คู่มือปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)จังหวัดอำนาจเจริญ กำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ 30 ของ รพ.สต. สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลในกลุ่มผู้บริหาร 26 คน ผู้ปฏิบัติงาน 52 คน และผู้รับบริการ260 คน ด้วยแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75,0.70,0.79 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.97 อายุระหว่าง 40 – 49 ปี ร้อยละ 38.46 เป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 34.62 ระยะเวลาปฏิบัติงานใน รพ.สต.แห่งนี้เฉลี่ย 9.50±2.00 ปี ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.15 อายุระหว่าง 30 – 39 ปี ร้อยละ 42.83 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 53.38 อาชีพเกษตรกร/ค้าขาย ร้อยละ 63.42 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 52.58ระดับความสำเร็จของการใช้คู่มือปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ผลของการใช้คู่มือรายด้าน พบว่า การจัดการทั่วไปอยู่ระดับดี ความพึงพอใจในบริการอยู่ระดับมาก ส่วนความรู้ในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมใน รพ.สต. อยู่ระดับปานกลางบริการที่ประชาชนเห็นว่ามีมาตรฐาน ได้แก่ ตรวจโรคทั่วไป ล้างแผล คลินิกโรคเรื้อรัง คลินิกสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และคลินิกทันตกรรม สิ่งที่ควรปรับปรุง ได้แก่ พฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่ ความเพียงพอทั้งบุคลากร/ยา/วัสดุอุปกรณ์ ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ ความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ คุณภาพบริการเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตรงเวลา เสมอภาค ความเพียงพอของบุคลากร/ยา/วัสดุอุปกรณ์ ภาวะผู้นำและความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ดังนั้น ควรพัฒนาความรู้และพฤติกรรมบริการของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อส่งมอบบริการที่ เป็นเลิศต่อไป
References
สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานการติดตามประเมินผลนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
ณัฐธิสา บุญเจริญ, ภูษิตา อินทรประสงค์ และจรรยา ภัทรอาชาชัย. ความเครียดในงานและความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานวัณโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.2559; 11(1): 2.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). กรุงเทพฯ. 2559.
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) ปี 2562. กรุงเทพฯ. 2561.
เจริญชัย คำแฝง. อนาคตภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2554-2564) [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2555.
วรชาติ จำเริญพัฒน์. บทบาทของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตตรวจราชการ 12 [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2553.
กลุ่มงานนิติการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. บันทึกข้อความเรื่องรายงานสรุปผลการจัดการเรื่องร้องเรียน ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2562. อำนาจเจริญ. 2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. รายงานประจำปี 2561. อำนาจเจริญ. 2561.
สมหมาย จันทร์เรือง. รพ.สต. ทางเลือกหรือทางหลักของระบบสุขภาพไทย. [ออนไลน์]. 2558 [สืบค้น 27 กันยายน 2562]; จาก https://www.hfocus.org/ content/2015/07/10346
กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. คู่มือปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อำนาจเจริญ; 2561.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2549.
นครชาติ เผื่อนปฐม. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร; 2554.
จรัญญู ทองเอนก. สุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557.
ฐิติวรดา อัครภานุวัฒน์, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ และวรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 (น. 1). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราชนครนายก. 2555.
พงศกร ปาณัณณพ. ผลกระทบของการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามไชยที่มีต่อการบริการสุขภาพของประชาชนในเขตตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี; 2556.
รัตติภรณ์ บุญทัศน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลในอำเภอที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบของจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; 2557.
สายชล แสงแดงชาติ. ทักษะการบริหารและบรรยากาศองค์การ ที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 3 [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร; 2555.
กฤษดา โม้เวียง. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557.
เฉลิมพล วัฒนไกร.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนครนายก. 2553.
เศกสันต์ ชานมณีรัตน์. การประเมินความรู้ ความคิดเห็น และผลการดำเนินงานตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของหัวหน้าสถานีอนามัยในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 5 [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิรา; 2554.
ธวัชชัย แตงอ่ำ. ความรู้และความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ. 2553.
กาญจนา โพธิคำ. ความคิดเห็นของประชาชนต่อระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา. 2555.
สุจิณณา มณีรัตน์. พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสบป๋อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา; 2559.
วัชระ เกษทองมา. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่เอื้ออาทรกับผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพลวงมะนาว อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2559.
เกสร แสงจันทร์. ความพึงพอใจของครอบครัวต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านสระตลุง ตำบลตลุกกลางทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. นครนายก: มหาวิทยาลัยสุโขทัธรรมาธิราช; 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว