รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การควบคุมค่าดัชนีมวลกาย และรอบเอวบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ, ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว, การเสริมพลังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยใช้แนวคิดการเสริมพลัง(Empowerment) กลุ่มตัวอย่างบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 40 ราย คัดเลือกโดยมิวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่ง การวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์ของปัญหา (Situation analysis phase) ระยะที่ 2 การดำเนินการเพื่อพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระยะที่ 3 การประเมินผลการดำเนินงาน (Evaluation phase) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพโดยสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา เชิงปริมาณ เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามความรู้และการปฏิบัติตัว ค่าดัชนีมวลกายและรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย Paired t-test ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า บุคลกรกลุ่มเสี่ยงให้ความสนใจต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ และร่วมการออกแบบกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามทฤษฎี PRECEED MODEL ระยะที่ 2 ขั้นดำเนินการ ประยุกต์การเสริมพลังในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพประกอบด้วย การเสริมสร้างความรอบรู้และทักษะ จัดกระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมการสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการวิจัยการรวมกลุ่มออกกำลังกายเพื่อนช่วยเพื่อน การมีโค้ชให้คำปรึกษาและการให้รางวัล ระยะที่ 3 การประเมินผล พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ การปฏิบัติตัว หลังการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ส่วนค่าดัชนีมวลกายและรอบเอวหลังการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพลดลงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) จากผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวคิดการเสริมพลังใช้ได้ผลกับบุคลากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มโรคเรื้อรังทั้งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยต่อไป
References
World Health Organization. 10 facts aboutdiabetes. [Online].Available from http://www.who.int/features/factfiles/ diabetes/en/; 2016. [cited 2016 Jun 2]
Khonkaen Provincial Health Office. HDC [Internet]. 2017. [cited2017 Oct 10]; Available from https://goo.gl/5U1WFX
KhonKaen Provincial Health Office, HDC [Internet]. 2017. [cited 2017 Oct 10]; Available from: https://goo.gl/5U1WFX
SudsiriHirunchunha. Development of a care model for the caregivers of stroke patients at home. Bangkok: Mahidol University. 2005
AruneeSrinaul. Application of health belief plan cooperated with social support in behavior change to protect themselves from diabetes Khon Kaen: Khon Kaen University; 2005.
WanpenPhoonperm. Development of health behavior among persons living with HIV/AIDS taking anti-retro viral drug by empowerment and social support. Khon Kaen: Khon Kaen University. 2007
Zimmerman, M. Empowerment theory: Psychological, organizational and community levels of analysis. Handbook of Community Psychology. 2000; 43-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว